สำนักผู้นำสูงสุดซัยยิด อาลี คาเมเนอี

การประกอบพิธีฮัจญ์

    • คำนำ
    • บทนำ
    • เงื่อนไขและวาญิบต่างๆในฮัจญ์
      • ประเด็นทั่วไปเกี่ยวกับอิสติฏออัต
        ปริ้นซ์  ;  PDF
        ประเด็นทั่วไปเกี่ยวกับอิสติฏออัต 
         
        ๔๖  -  หากภริยาสูญเสียสามี  และในช่วงที่สามียังมีชีวิตอยู่นั้น ยังไม่มีความสามารถ(อิสติฏออัต)ด้านการเงิน  และหลังจากที่สามีเสียชีวิต  เนื่องด้วยมรดกที่ได้รับมานั้น กลายเป็นผู้ที่มีความสามารถ(อิสติฏออัต) ด้านการเงิน  แต่เนื่องด้วยมีโรคประจำตัวจึงไม่สามารถไปประกอบพิธีฮัจญ์ ได้  และหากความป่วยไข้ของเขามีความต่อเนื่องอันเป็นเหตุที่ไม่สามารถไปประกอบพิธีฮัจญ์ได้ ถือว่าเขายังไม่มีความสามารถ (มุสตะฏียอ์)และฮัจญ์ไม่เป็นวาญิบสำหรับเขา , เช่นเดียวกัน  หากหลังจากการเสียชีวิตของสามี  เขามิได้ประกอบอาชีพทำสวน หรืออุตสาหกรรม เพื่อสามารถเลี้ยงดูตัวเองหลังจากที่เดินทางกลับจากการประกอบพิธีฮัจญ์ได้  ก็ยังไม่ถือว่าเป็นผู้มีความสามารถ แม้นว่า มรดกที่ได้รับมานั้นเพียงพอในการเดินทางไปกลับจากการประกอบพิธีฮัจญ์ก็ตาม



        ๔๗  -  
        ๔๘  -  ด้วยการได้รับส่วนแบ่งตามหลักชัรอีย์ เช่น ส่วนของอิมามหรือส่วนของซัยยิด  ยังไม่ถือว่าเป็นผู้มีความสามารถ(มุสตะฏียอ์) และหากเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ก็ยังไม่ถือว่าได้ประกอบพิธีฮัจญะตุลอิสลามแล้ว
        ๔๙  -  บุคคลที่มีบ้านราคาแพง และหากทำการขายได้ราคาที่ถูกกว่าก่อนที่ได้ซื้อ และด้วยความแตกต่างด้านราคา ก็สามารถที่จะไปประกอบพิธีฮัจญ์ได้  และหากบ้านที่มีอยู่นั้น มิได้เป็นสิ่งที่เหลือใช้ ก็ไม่จำเป็นที่ต้องขาย และกรณีดังกล่าวนั้นถือว่ายังมิได้เป็นผู้มีความสามารถ และหากเป็นสิ่งที่เหลือใช้ ด้วยกับเงื่อนไขต่างๆที่มีอยู่  ถือว่าเขาเป็นผู้มีความสามารถ(มุสตะฏียอ์)
        ๕๐  -  บุคคลที่มีค่าจ่ายใช้เพียงพอในการประกอบพิธีฮัจญ์ทั้งไปและกลับ ไม่ว่าจะได้มาด้วยการแสวงหาหรือวิธีการอื่น  และหลังจากที่กลับจากการประกอบพิธีฮัจญ์แล้ว มีค่าครองชีพส่วนหนึ่งได้มาจากรายได้ เช่น ขึ้นมินบัร และเงินเดือนๆอื่นตามหลักการชัรอีย์  และหากในการใช้จ่ายในการค่าครองชีพหลังจากกลับจากประกอบพิธีฮัจญ์แล้ว มีความต้องการในเงินเดือนนั้นอีก ถือว่ายังไม่มีความสามารถ.
        ๕๑ –  หากบุคคลได้ขายที่ หรือสิ่งอื่นๆ เพื่อปลูกบ้านที่อยู่อาศัย  ซึ่งเขามีความจำเป็นจริงๆต่อบ้านหลังนั้น ถือว่า เขายังไม่ใช่ผู้ที่มีความสามารถ(อิสติฏออัต) แม้นว่า เงินที่ได้มานั้นเพียงพอสำหรับในการใช้จ่ายเพื่อประกอบพิธีฮัจญ์ก็ตามที.
        ๕๒  -  หากบุคคลใดที่มีความสามารถในปีที่ผ่านมา  และด้วยกับวัยแก่ชราจึงไม่สามารถเดินทางด้วยเครื่องบินได้ และนอกเหนือจากเครื่องบินแล้ว ก็ไม่มีพาหนะอื่นๆที่สามารถเตรียมไว้สำหรับเขา  ถือว่าไม่อนุญาตให้มีการทำแทน และจำต้องไปประกอบพิธีฮัจญ์ในเมื่อมีความสามารถ และหากยังไม่มีความสามารถจนถึงเสียชีวิต จำต้องเอาจากกองมรดกเพื่อใช้จ่ายในการประกอบพิธีฮัจญ์ และหากในปีก่อนหน้านี้ยังไม่มีความสามารถ ตามกรณีข้างต้น ก็ถือว่าเขายังไม่ถือว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถ(มุสตะฏียอ์).
        ๕๓ – ครั้นที่สตรีประกอบอาชีพ อันสามารถเลี้ยงดูอุปการะตนเองได้  อีกทั้งมีความสามารถในการออกค่าใช้จ่ายในการประกอบพิธีฮัจญ์  และหากการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ของเขา เป็นเหตุให้สามีต้องเดือดร้อนและมีความยากลำบาก  และหากความอุตสาหะเพียรพยายามของสามีทำให้ภริยามิได้มีความเดือดร้อนลำบากแต่อย่างใด ก็ถือว่าเขาเป็นผู้ที่มีความสามารถ  ซึ่งจำต้องไปประกอบพิธีฮัจญ์  และความเพียรพยายามและยากลำบากของสามี ก็มิได้เป็นเหตุให้ภริยาขาดคุณสมบัติของผู้ที่มีความสามารถแต่ประการใด.
        ๕๔ – บุคคลที่ไม่มีความสามารถ ณ. แหล่งสถานที่ของตนเอง ไม่วาญิบต้องไปประกอบพิธีฮัจญ์  แม้นว่ามีความสามารถ(อิสติฏออัต)ในการประกอบพิธีฮัจญ์มิกอตีย์ ก็ตาม, แต่หาก ได้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ และเมื่อถึงยังจุดมีกอต  มีความสามารถในการประกอบพิธีฮัจญ์ขึ้นมา(อิสติฏออัต)ด้วยกับเงื่อนไขต่างๆของฮัจญ์  ซึ่งถูกนับว่าการประกอบพิธีฮัจญะตุลอิสลามของเขา.
        ๕๕  -  บุคคลที่มีความสามารถด้านการเงิน และปราศจากการทำให้ล่าช้าแต่ประการใด โดยมีความพยายามอย่างสม่ำเสมอในการไปประกอบพิธีฮัจญ์ อีกทั้งได้เข้าร่วมในการจับฉลาก  ซึ่งผลของการจับฉลากนั้น ปรากฏว่าไม่ติดชื่อของเขาในรายชื่อของผู้ที่จะไปประกอบพิธีฮัจญ์ จนไม่สามารถไปประกอบพิธีฮัจญ์ได้ ก็ถือว่า เขายังไม่มีความสามารถ และฮัจญ์ก็ยังไม่วาญิบสำหรับเขา  แต่หากมีการอลุ่มอะลวย และทำให้ล่าช้า และเข้าร่วมรายชื่อในการจับฉลากในปีถัดไป ฮัจญ์ถือว่าเป็นภาระหน้าที่สำหรับเขา แม้นว่าเขาจะไม่ติดรายชื่อในจำนวนของผู้ที่ได้ไปประกอบพิธีฮัจญ์ก็ตาม.
        ๕๖ –  บุคคลใดที่รับจ้างในการประกอบพิธีฮัจญ์มุสตะฮับ  และในปีเดียวกันนั้น ตนเองกลายเป็นบุคคลที่มีความสามารถด้านการเงิน  และในปีนั้นตนเองก็รับค่าจ้างเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์อีกด้วย จำต้องทำการประกอบพิธีฮัจญ์แทน (นิยาบาตีย์) และหากความสามารถของเขายังคงมีสืบไป  ก็จำต้องประกอบพิธีฮัจญ์สำหรับตนเองในปีถัดไป.
        ๕๗ –  ในการได้มาซึ่งความสามารถ (อิสติฏออัต)นั้น ไม่มีความแตกต่างแต่ประการใด ระหว่าง การได้มาซึ่งความสามารถด้านการเงินในช่วงเดือนเทศกาลฮัจญ์ คือ เดือน เชาววาล ซุลกิอฺเดาะห์ และซุลฮิญญะห์  หรือ มีความสามารถก่อนหน้านี้  ด้วยเหตุนี้ หากมีความสามารถด้านการเงิน พร้อมกับมีสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรง(ความสามารถด้านสุขภาพ) อกทั้งมีเงื่อนไขประการอื่นๆของฮัจญ์ด้วย  ก็ไม่สามารถที่จะทำให้ตนเองหลุดพ้นจากความสามารถดังกล่าวได้เป็นอันขาด  แม้นว่าจะมีความสามารถในช่วงต้นปีหรือ ก่อนหน้าเดือนฮัจญ์ก็ตามที.
        ๕๘ –  คนรับใช้ในกองคาราวานที่เข้าสู่เมืองญิดดะห์  หากมีความสามารถครบตามเงื่อนไขของอิสติฏออัต เช่น  มีค่าครองชีพเพียงพอ ทั้งในเชิงหลักการและความเป็นจริง และย้อนกลับยังกฎแห่งความเพียงพอ เช่น มีอาชีพและทำธุรกิจอื่นๆ  ซึ่งหลังจากกลับจากกาประกอบพิธีฮัจญ์แล้วสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมกับสถานะของตน ก็ถือว่า เขาเป็นคนมีความสามารถ(มุสตะฏีอย์) ซึ่งจำต้องประกอบฮัจญะตุลอิสลาม  และถือว่าเป็นการเพียงพอต่อการทำฮัจญ์วาญิบ ,และหากไม่ครบเงื่อนไขดังกล่าว  และด้วยความเป็นไปได้ของฮัจญ์ ก็ถือว่าสำหรับเขายังไม่มีความสามารถอีกเช่นกัน และถือว่ามีหน้าที่ประกอบพิธีฮัจญ์มุสตะฮับเท่านั้น  และหากหลังจากนั้น มีความสามารถขึ้นมา(อิสติฏออัต) จำต้องปฏิบัติฮัจญ์ที่เป็นวาญิบ และฮุกุมของรูฮานีย์(นักการศาสนาผู้นำกองคาราวาน)ก็มีเหมือนเช่นนี้ แต่ทว่า หากหลังจากกลับจากเมืองมักกะห์แล้ว ตนเองยังจำเป็นและต้องการในเงินเดือนของสถาบันศาสนาอีก ก็ยังถือว่าไม่มีความสามารถ(มุสตะฏียอ์)
        ๕๙ – แพทย์ พยาบาลหรือบุคคลที่อยู่ในหน้าที่ ได้มาถึงยังมิกอต และในสถานที่มิกอต มีเงื่อนไขครบถ้วนตามความสามารถ  ถือว่าเป็นวาญิบต้องประกอบพิธีฮัจญะตุลอิสลาม แม้นว่าในช่วงเวลานั้น จะปฏิบัติหน้าที่ของตนเองอยู่ก็ตามที.

        ๒๐ – สามารถย้อนดูแหล่งอ้างอิงในประเด็นมัสอาละห์ที่ ๔๐
        ๒๑ – บุคคลที่มีค่าครองชีพและสถานะความเป็นอยู่ ที่เหนือความจำเป็น  เช่น บ้านพักอาศัย เครื่องใช้ภายในบ้าน ยานพาหนะ และสื่อในการทำงาน  หากสามารถขายสิ่งของเหล่านี้ได้ และใช้จ่ายเพื่อซื้อสิ่งที่จำเป็นในการการดำเนินชีวิต และส่วนที่เหลือนำมาใช้ในการประกอบพิธีฮัจญ์  ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้มิได้เป็นเหตุสร้างความเดือดร้อนในหนี้สินแต่อย่างใด  และจำนวนที่เหลือใช้ก็มีจำนวนเท่ากับค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพื่อประกอบพิธีฮัจญ์หรือว่าสามารถเพิ่มให้มีความสมบูรณ์ขึ้น ก็จำต้องปฏิบัติในสิ่งนี้ และถือได้ว่าเขาเป็นคนที่มีความสามารถ.
         ๒๒  - สามารถย้อนกลับดูที่เชิงอรรถของมัสอาละห์ที่ ๔๐
        ๒๓  -  กรณีที่บ้านของตนเองนั้นเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งของค่าครองชีพที่จำเป็น หรือการครอบครองสิ่งนั้น มีความเหมาะสมกับหลักอุรฟ์ (ตามหลักการเชื่อถือของประชาชน)  ด้วยการได้มาซึ่งเงินจากส่วนของที่ดินนั้น มิได้ทำให้เขากลายเป็นผู้มีความสามารถแต่ประการใด  แม้นว่า เงินดังกล่าวจะสามารถใช้จ่ายในการประกอบพิธีฮัจญ์และเพิ่มเติมให้มีความสามารถก็ตามที.
        ๒๔ – บุคคลที่มีหน้าที่ต้องประกอบพิธีฮัจญ์  และหากด้วยวัยแก่ชรา หรือเจ็บไข้ได้ป่วยอันไม่สามารถที่จะไปประกอบพิธีฮัจญ์ได้ อีกทั้งตัวของเขายังมีความยากลำบากและเดือดร้อน และไม่มีความหวังว่าจะสามารถกลับคืนสู่สภาพปรกติได้ (หายจากการป่วยไข้ และมีพละกำลังความสามารถพอ)เพื่อประกอบพิธีฮัจญ์ โดยปราศจากความเดือดร้อนและความยากลำบาก(แม้นว่าในปีถัดไป) เป็นวาญิบที่จะต้องหาคนทำแทน แต่สำหรับบุคคลที่ยังไม่วาญิบในการประกอบพิธีฮัจญ์ ถือว่าไม่วาญิบที่ต้องหาคนทำแทน.
        ๒๕  - หากการไปประกอบพิธีฮัจญ์ในปีถัดไป มีเงื่อนไขว่าต้องลงทะเบียนรายชื่อพร้อมกับจ่ายค่ามัดจำส่วนหนึ่งภายในปีนั้น  ตามหลักอิห์ติยาฏวาญิบ วาญิบต้องปฏิบัติและกระทำในสิ่งดังกล่าว.
        ๒๖ –  บุคคลที่ไม่มีความสามารถด้านการเงิน  ซึ่งรับจ้างในการทำแทนจากผู้อื่น แล้วหลังจากทำสัญญาข้อตกลงแล้ว ซึ่งปราศจากเงินทองที่ได้มาจากค่าจ้างดังกล่าว กลายเป็นคนที่ มีความสามารถขึ้นมา  ในปีนั้นก็จำต้องไปประกอบพิธีฮัจญ์สำหรับตนเอง และหากสัญญาข้อตกลงดังกล่าวมีผลบังคับต้องทำในปีนั้น สัญญาว่าจ้างต้องอันเป็นโมฆะ  และนอกเหนือจากรูปลักษณะดังกล่าวแล้ว จำต้องไปประกอบพิธีฮัจญ์อิสติญารีย์ (รับจ้างทำฮัจญ์)ในปีถัดไป.
        ๒๗ – สามารถย้อนดูในเชิงอรรถของมัซอาละห์ที่ ๕๕
        ๒๘  - สามารถย้อนดูในเชิงอรรถของมัซอะละห์ที่ ๔๐  
        ๒๙ – ด้วยกับเงื่อนไขที่ว่า  การประกอบพิธีฮัจญ์ที่รับจ้างทำแทนนั้น มิได้เป็นการรบกวนและส่งผลต่อการรับใช้และทำหน้าที่ในสิ่งที่ได้ว่าจ้าง.

700 /