สำนักผู้นำสูงสุดซัยยิด อาลี คาเมเนอี

กลุ่มนักศึกษาและตัวแทนชมรมนักศึกษา เข้าพบท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม

“วันพรุ่งนี้ที่ดีกว่าวันนี้ เป็นเป้าหมายหลักของประเทศและรัฐอิสลาม”

กลุ่มนักศึกษาประมาณ 3,000 คน และตัวแทนของชมรมต่างๆทางด้านการเมือง สังคม วัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัย เข้าพบท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม อยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี โดยท่านผู้นำถือว่า วันพรุ่งนี้ที่ดีกว่าวันนี้ เป็นเป้าหมายหลักของประเทศและรัฐอิสลาม และท่านยังได้เชิญชวนให้บรรดานักศึกษาและชมรมนักศึกษา นำเสนอวิธีการใหม่ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายพื้นฐานนี้และความก้าวหน้า โดยปราศจากความล้าหลังทางวัตถุและจิตวิญญาณของประเทศ โดยท่านกล่าวว่า “การอบรมสั่งสอนนักวิชาการ การผลิตความรู้ และการกำหนดทิศทางให้แก่ทั้งสองประเภทนี้ ถือเป็นภารกิจหลักสามประการของมหาวิทยาลัย”

ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ถือว่า ธรรมชาติของสภาพแวดล้อมของนักศึกษา มีความสุข มีชีวิตชีวา น่าตื่นเต้น มีความต้องการและมีการกระตือรือร้น และท่านยังชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการติดตามถึงประเด็นต่างๆที่ตัวแทนของชมรมต่างๆ นำเสนอในการพบปะกันครั้งนี้ โดยท่านกล่าวว่า “ทุกๆข้อเสนอ จะต้องมีการวิเคราะห์อย่างลึกซึ้งและการใช้ความคิด ด้วยการมีวิสัยทัศน์ที่ตรงกับความเป็นจริงและช่วยแก้ไขปมปัญหาต่างๆได้”

ท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี ยังกล่าวตอบคำถามของหนึ่งในตัวแทนของชมรมนักศึกษาที่เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างมุมมองของพณฯท่านกับยุค 1380 (ปฏิทินอิหร่าน) ในประเด็นความยุติธรรม  โดยท่านผู้นำเน้นย้ำว่า “ความแตกต่าง ก็คือ ข้าพเจ้าขอยืนกรานในเรื่องความยุติธรรมที่เพิ่มมากขึ้น”

ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ถือว่า เดือนรอมฎอนปีนี้ เป็นเดือนที่ดี ทั้งในแง่ของการเกิดขึ้นของจิตวิญญาณในสังคม รวมถึงการจัดมัจญ์ลิซการอ่านพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน และท่านยังได้ให้คำแนะนำแก่บรรดานักศึกษา สำหรับการรักษาแสงสว่างและความสะอาดบริสุทธิ์ที่ได้รับจากเดือนนี้ โดยท่านกล่าวเสริมว่า “หนทางหลักในการบรรลุเป้าหมายนี้ คือ การหลีกเลี่ยงออกจากการกระทำบาปทั้งหลาย”

ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ถือว่า ความเพิกเฉยในความเป็นบาปของการกระทำบางประการ เป็นเหตุผลให้มีการกระทำบาป โดยท่านกล่าวว่า “บางคำพูดและผลงานเขียนที่มีการเผยแพร่ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยปราศจากการวิเคราะห์ ความสนใจ และความละเอียดถี่ถ้วน ล้วนเป็นตัวอย่างหนึ่งของการเพิกเฉยต่อบาป และบุคคลผู้นั้นก็จะต้องมีคำตอบ ณ พระผู้เป็นเจ้า”

ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม กล่าวเสริมว่า “แน่นอนว่า เราจะไม่ให้คำแนะนำ ด้วยการอนุรักษ์นิยม ไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์ และการคัดค้าน แต่ทว่า เราจะต้องระมัดระวังในทุกคำพูดและการกระทำของพวกเรา”

ท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี ให้คำแนะนำว่า นักศึกษา เป็นองค์ประกอบที่เป็นเยาวชน เต็มไปด้วยความสามารถ มีแรงบันดาลใจ และเป็นนักคิดที่มีความรู้ และมีอนาคต โดยท่านผู้นำกล่าวว่า “เมื่อพิจารณาถึงคุณลักษณะเหล่านี้ นักศึกษา จะต้องถูกคาดหวังให้มีความกระตือรือร้นและมีความรู้สึกอ่อนไหวต่ออนาคตด้วย”

ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ถือว่า อุปสรรคต่างๆในสังคมและประเทศ มีมากกว่าประเด็นที่นักศึกษาหยิบยกขึ้นมาพูดถึงในการพบปะกันครั้งนี้ โดยท่านกล่าวเสริมว่า “หากสังคมของนักศึกษา มีการวางระบบแบบแผนด้วยความคิดและมีคุณค่าสำหรับอนาคตของประเทศ และเส้นทางในการเข้าถึงมันนั้น เป็นที่ชัดเจนแล้ว อีก 5 ปีข้างหน้า แน่นอนว่า ปัญหาต่างๆจะลดน้อยลง”

ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ยังกล่าวอธิบายถึงความสำเร็จของประเด็นต่างๆที่ท่านนำเสนอในการพบปะกับนักศึกษาเมื่อหลายปีที่ผ่านมา รวมถึงความคาดหวังของท่านผู้นำสูงสุด จากชมรมต่างๆ โดยท่านกล่าวว่า “ตามที่เคยกล่าวไว้หลายครั้ง ภารกิจหลักของนักศึกษา คือ การเรียนหนังสือ แต่นอกจากนั้น การเหลียวมองไปยังประชาชนและสังคมและการเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆ ก็ถือเป็นหน้าที่อย่างแน่นอนของนักศึกษาทั้งหลายอีกด้วย”

ท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี ถือว่า วันพรุ่งนี้ที่ดีกว่าวันนี้ เป็นเป้าหมายหลักและยิ่งใหญ่ของประเทศและรัฐอิสลาม โดยท่านผู้นำเน้นย้ำว่า “เพื่อให้บรรลุยังเป้าหมายพื้นฐานนี้ เราจะต้องกำหนดอุดมคติที่เฉพาะเจาะจง”

ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ถือว่า การรู้จักถึงสถานการณ์ปัจจุบันของประเทศและรัฐอิสลาม เป็นก้าวแรกในการเข้าไปสู่อุดมคติและการบรรลุถึงวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า โดยท่านกล่าวว่า “บางคนที่เพิกเฉยต่อข้อเท็จจริงที่เด็ดขาดและสำคัญนี้ ถือว่า ระบอบแห่งการปฏิวัติอิสลามในปัจจุบันนี้ อันเป็นผลมาจากการต่อสู้ที่ยากลำบากและมีความซับซ้อนกับยุคมืดของระบอบเผด็จการ”

ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม กล่าวเสริมว่า “แน่นอนว่า เป้าหมายหลายประการของการปฏิวัติอิสลาม ขณะนี้ยังไม่เกิดขึ้น แต่การให้ความสนใจอย่างต่อเนื่องต่อความเป็นนักการปฏิวัติอิสลามของรัฐอิสลาม และการทำความเข้าใจถึงข้อเท็จจริงของเมื่อวานนี้  ควรที่จะเป็นจุดสนใจของสังคมของนักศึกษาอย่างเสมอ เพื่อที่จะทำให้มีการตัดสินที่ถูกต้องเกี่ยวกับวันนี้”

ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ยังกล่าวอธิบายถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับระบอบการปกครองของปาห์ลาวีที่ทุจริต ทรยศ และพึ่งพาผู้อื่น โดยท่านกล่าวว่า “ในยุคสมัยนั้น อิหร่านถือเป็นแกนนำหลักที่ยิ่งใหญ่ ขณะที่ครอบครัวตกต่ำ ที่มีการคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบ ได้เข้ามาปกครองเหนือประชาชน นอกจากนี้ การปกครองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ ยังเข้าครอบงำในการบริหารจัดการของสังคม และสิ่งที่ต่างจากปัจจุบันนี้ ก็คือ ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมในกิจการของประเทศและไม่ถูกนับรวมอีกด้วย”

การปกครองแบบเผด็จการทางการเมืองและการปฏิบัติตามพวกต่างชาติ ในขณะที่การกดขี่และการใช้กำลังเชิงบังคับประชาชน ความใจแคบของวัฒนธรรมตะวันตกที่หลงเหลืออยู่ การเกิดช่องว่างระหว่างชนชั้นที่รุนแรงขึ้น การไร้ความหมายของความยุติธรรม การเลือกปฏิบัติที่รุนแรงอย่างยิ่ง การเล่นพรรคเล่นพวกของเหล่าเจ้าหน้าที่ทุกคนและผู้ที่เกี่ยวข้องกับราชบัลลังก์ ทั้งหมดเหล่านี้ ล้วนเป็นข้อเท็จจริงประการอื่นๆ ก่อนการปฏิวัติอิสลาม ที่ท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอีได้ชี้ถึง

ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม กล่าวเสริมว่า “ในทางวิทยาศาสตร์ ถึงแม้ว่า มหาวิทยาลัยจะมีอาจารย์ที่ดีและมีประสิทธิภาพ แต่ผลิตภัณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม และเทคโนโลยีที่เชื่อถือได้นั้นไม่ได้ผลิตขึ้นในมหาวิทยาลัย และความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการที่สังคมอิหร่านไร้ความสามารถในการบรรลุขอบเขตของวิทยาศาสตร์ในระดับโลก ก็เป็นหนึ่งในความแน่นอนทางจิตใจของเหล่าผู้ปกครองในยุคสมัยของระบอบเผด็จการ”

ท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี ถือว่า ในแง่ของอัตลักษณ์โดยรวม อิหร่านในยุคของปาห์ลาวี เป็นดวงดาวทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของพวกต่างชาติ และยังถือว่า สถานการณ์นั้น เป็นสิ่งที่น่าละอายใจ โดยท่านผู้นำกล่าวว่า “การต่อสู้กับความเป็นจริงอันขมขื่นนั้น เริ่มต้นขึ้นในช่วงต้นทศวรรษที่ 20  ด้วยการปรากฏตัวของประชาชนที่มีความคิดเห็นต่างกัน จนถึงจุดสูงสุด คือ ขบวนการน้ำมันแห่งชาติ ซึ่งประสบกับความล้มเหลวโดยรัฐประหารของอเมริกา-อังกฤษ เมื่อวันที่ 28 มุรดอด (ปฏิทินอิหร่าน) และโดยเหล่าอันธพาล ซึ่งความล้มเหลวของขบวนการน้ำมันแห่งชาติ ด้วยการก่อรัฐประหารของเหล่าอันธพาลนั้น แท้จริงแล้ว คือความอัปยศอดสูของประชาชาติอิหร่าน”

ท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี ถือว่า การต่อสู้เหล่านี้ที่พัฒนาแล้ว เป็นการต่อสู้ของประชาชน ภายใต้การชี้นำของบรรดานักวิชาการศาสนา และการเป็นผู้นำของท่านอิมามโคมัยนี ในการต่อต้านระบอบการปกครองเผด็จการ โดยท่านผู้นำกล่าวว่า “ท่านอิมามโคมัยนี ได้ระดมประชาชนในรูปแบบของการเคลื่อนไหวทางศาสนาและในระดับชาติ และการปฏิวัติอิสลามเกิดขึ้นในลักษณะนี้ ซึ่งถือเป็นบัตรประชาชนทางประวัติศาสตร์ของประชาชาติอิหร่าน”

ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ถือว่า เนื้อหาของการปฏิวัติอิสลาม เป็นสาธารณรัฐอิสลามและความเป็นอิสลาม และท่านยังชี้ให้เห็นถึงการลงคะแนนเสียงให้เป็น สาธารณรัฐอิสลาม ของประชาชนเกือบทั้งหมด แม้แต่เหล่าผู้ที่ไม่ศรัทธาต่ออิสลาม โดยท่านได้ตั้งข้อสังเกตว่า “ในเวลาเดียวกันนั้น ก็เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของความเข้ากันได้ของประชาธิปไตยและการลงคะแนนเสียงของประชาชนกับกรอบของอิสลาม ซึ่งนักกฎหมายที่มีชื่อเสียงได้ให้คำตอบที่ชัดเจนในเรื่องนี้ไปแล้ว”

ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม กล่าวว่า “อุดมคติของสาธารณรัฐอิสลาม สามารถสรุปได้เป็น 2 หัวข้อทั่วไป คือ การบริหารประเทศตามแนวทางของอิสลาม  และการนำเสนอเป็นต้นแบบแก่ประชาชนทั่วโลกในการบริหารประเทศที่ดี ซึ่งพวกท่าน เป็นนักศึกษาในแวดวงทางปัญญาและการศึกษา การจัดประชุมและการสื่อสารกับผู้เชี่ยวชาญที่ศรัทธาในการปฏิวัติอิสลาม พวกท่านจะต้องมีการทำงานและความพยายามในการบรรลุถึงสองหัวข้อนี้ อย่างทันสมัย”

ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ถือว่า ตัวชี้วัดของการบริหารประเทศตามแนวทางของอิสลามในถ้อยแถลงของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ เช่น ในคำบัญชาของท่านอะมีรุลมุอ์มินีน อะลี (อ.) ที่มีต่อมาลิก อัชตัร โดยท่านกล่าวเสริมว่า “การบริหารประเทศตามแนวทางของอิสลาม หมายถึง การตั้งอยู่บนเส้นทางของความก้าวหน้าทางวัตถุและทางจิตวิญญาณอย่างต่อเนื่อง โดยที่ไม่มีการหันหลังกลับ”

ท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี ถือว่า สวัสดิการสาธารณะ ความมั่นคงทางกายภาพและศีลธรรม ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ การขยายตัวของสุขภาพ การรักษาประชากรให้คงความเป็นเยาวชน การสร้างและนวัตกรรมทุกประเภท และความยุติธรรม เป็นหัวข้อหลักของความก้าวหน้าทางวัตถุ โดยท่านผู้นำกล่าวว่า “ความยุติธรรม ซึ่งจะต้องมีความเข้าใจอย่างถูกต้อง หมายถึง การปฏิเสธการเกิดช่องว่างระหว่างชนชั้น กล่าวคือ การใช้โอกาสสาธารณะและการวางโอกาสที่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงประชาชน เพราะว่า การสร้างสิทธิพิเศษในการใช้โอกาส ถือเป็นความอยุติธรรมและมีความขัดแย้งกับความยุติธรรม”

ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ถือว่า การเผยแพร่บทความต่างๆในสื่อสังคมออนไลน์ การต่อต้านผู้ที่ไม่มีโอกาสตอบโต้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการไม่มีโอกาสที่เท่าเทียมกันและขัดแย้งกับความยุติธรรม โดยท่านกล่าวเสริมว่า “ความยุติธรรม ไม่เพียงแต่ในเรื่องทางการเงินเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการระมัดระวังในเรื่องของชื่อเสียง อาชีพ และเกียรติและศักดิ์ศรี”

ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ยังถือว่า ศีลธรรม และจริยธรรม การเคร่งครัดศาสนา ความร่วมมือกัน วิถีชีวิตแบบอิสลาม การเสียสละ และการต่อสู้ เป็นหัวข้อหลักของความก้าวหน้าทางด้านจิตวิญญาณ โดยท่านกล่าวว่า “การบรรลุถึงองค์ประกอบและหัวข้อทางวัตถุและทางจิตวิญญาณทั้งหมดนี้ จำเป็นที่จะต้องมีการวางแบบแผน การคิดที่ใหม่และทันสมัย และทฤษฎีที่ว่า สังคมของนักศึกษา ควรควบคู่ไปด้วยกับความห่วงใยและความต้องการของตน จะต้องมีการทำงานและความพยายามอย่างต่อเนื่องในด้านนี้”

ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ถือว่า อุดมคติประการที่สองของสาธารณรัฐอิสลาม หมายถึง การนำเสนอเป็นต้นแบบของการบริหารประเทศแก่โลกนั้น แท้จริงแล้ว คือ ความเมตตา กรุณาและความหวังดีต่อประชาชนในโลก โดยท่านกล่าวว่า “อุดมคตินี้ ได้รับการเติมเต็มในระดับหนึ่งและมีเหตุการณ์ต่างๆมากมาย ที่ปลุกเร้าเยาวชนและในระดับภูมิภาคและในระดับโลก พวกท่านจะต้องมีความภาคภูมิใจในประเทศ สังคม และการปฏิวัติอิสลามของพวกท่าน”

ในอีกส่วนหนึ่งของการปราศรัยของท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี โดยท่านผู้นำถือว่า ความรู้ เป็นเสาหลักของมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งท่านยังเน้นย้ำให้เห็นถึงภารกิจหลัก 3 ประการของมหาวิทยาลัย ได้แก่ การอบรมสั่งสอนนักวิชาการ การผลิตความรู้  และการกำหนดทิศทางในการอบรมสั่งสอนนักวิชาการและการผลิตความรู้ โดยท่านกล่าวว่า “มหาวิทยาลัยในโลก มีภาระหน้าที่ทั้งสามประการ หมายความว่า การกำหนดทิศทางในการอบรมสั่งสอนนักวิชาการ การผลิตความรู้ ก็ประสบกับปัญหา และด้วยเหตุผลนี้ ผลผลิตของพวกเขา จึงกลายเป็นเครื่องมือของเหล่าชาติมหาอำนาจ จอมอหังการและรัฐเถื่อนไซออนิสต์”

ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ยังเน้นย้ำให้ถึงความจำเป็นในการให้ความสนใจกับภารกิจที่สำคัญทั้งสามนี้ โดยทุกองค์ประกอบของมหาวิทยาลัย รวมถึงผู้บริหาร อาจารย์ นักศึกษา และตำราเรียน ถือว่า เป็นส่วนสำคัญของการมีชื่อเสียงระดับโลกของอิหร่าน ขึ้นอยู่กับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ โดยท่านกล่าวเสริมว่า “จะต้องทำให้ประเทศ ได้รับการคุ้มครองโดยการรักษาชื่อเสียงนี้  ซึ่งแน่นอนว่า เหล่าชาติมหาอำนาจ จอมอหังการ จะรู้สึกไม่พอใจต่ออำนาจและศักดิ์ศรีนี้ของอิหร่าน”

ในช่วงสุดท้ายของการปราศรัยของท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม โดยท่านได้ให้คำแนะนำแก่ชมรมนักศึกษา ถือว่า มีความคาดหวังจากชมรมต่างๆที่สูงเป็นอย่างมาก โดยท่านกล่าวว่า”ชมรมต่างๆของนักศึกษา ควรมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมของนักศึกษาและภายในมหาวิทยาลัย ในขณะที่ยังมองไม่เห็นถึงประสิทธิภาพนี้ หรือถือว่า มีขนาดน้อยอย่างมาก”

ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ยังชี้ให้เห็นว่า แม้ว่า มหาวิทยาลัยสำหรับนักศึกษาชาวอิหร่านมีความพยายามเพื่อระบุตัวเองว่าเป็นสาวกของพวกตะวันตก โดยท่านได้ตั้งข้อสังเกตว่า “ชมรมต่างๆของนักศึกษา ควรยืนหยัดต่อต้านความพยายามเหล่านี้อย่างแข็งขัน”

ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ได้ให้คำแนะนำแก่สมาชิกของชมรมนักศึกษา ด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการสนับสนุนทางปัญญาและทางทฤษฎี โดยท่านกล่าวว่า “หากไม่มีการสนับสนุนทางปัญญาที่เข้มแข็ง ก็ไม่สามารถแพร่กระจายแนวคิดของการปฏิวัติอิสลามได้ ในขณะที่เป็นไปได้ว่า จากผลของความอ่อนแอนี้ ชมรมต่างๆจะต้องได้รับการวิเคราะห์ เนื่องจากมีหลายกรณีก็เคยเกิดขึ้นมาด้วยเช่นกัน และอยู่ภายใต้ประเด็นอิสลาม ซึ่งตรงกันข้ามกับแนวคิดของอิสลาม การทำงานและการประกาศข้อมูลข่าวสาร”

ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ยังกล่าววิพากษ์วิจารณ์ถึงการลดน้อยลงของความก้าวหน้าของประเทศในด้านจิตใจและทัศนคติของนักศึกษา โดยท่านเน้นย้ำกับพวกเขาว่า “ถึงแม้ว่า จะมีมุมมองเชิงวิพากษ์วิจารณ์ พวกท่านควรมีมุมมองที่น่าภาคภูมิใจต่อความก้าวหน้าต่างๆ ในภาคส่วนต่างๆ ของประเทศ และรู้สึกภาคภูมิใจกับความก้าวหน้าเหล่านี้”

ท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี ถือว่า ชมรมนักศึกษา เป็นหนึ่งในโอกาสอันยิ่งใหญ่ของประเทศ โดยท่านผู้นำกล่าวว่า “ไม่มีปัญหาใดๆ ระหว่างความแตกต่างทางความคิดเห็นและความแตกต่างที่ชัดเจนในชมรมต่างๆ แต่ดังที่ข้าพเจ้าได้เน้นย้ำและกล่าวซ้ำไปแล้วเมื่อช่วงต้นปีว่า ความแตกต่างทางอุดมการณ์และแนวคิด ไม่ควรจะนำไปสู่การทะเลาะวิวาทกันในทุกระดับของสังคมและหน่วยงานต่างๆ

ในช่วงเริ่มต้นการพบปะกันครั้งนี้ ผู้แทนของชมรมนักศึกษา จำนวน 6 ท่าน ได้แก่

-นายฮามิด อับดุลฮุซัยนี  สมาพันธ์นักศึกษามหาวิทยาลัยอาซาดอิสลาม

-อะมีรฮุเซน ซัยยิด ระฮีมซาเดห์ ขบวนการยุติธรรมนักศึกษา

-ฮุเซน กะนะวาตี สหพันธ์สมาคมนักศึกษาอิสลามอิสระ

-มุฮัมมัด มะฮ์ดี อะฮ์มะดี สหพันธ์สมาคมนักศึกษาอิสลาม

- พูรียา อะศอร นักศึกษาอาสาสมัคร

และ นาง ฟาฏิมะฮ์ซาดาต ฮุซมันด์ มีรฮุซัยนี จากสหภาพสำนักงานตะฮ์กีมวะฮ์ดัต

โดยพวกเขาเหล่านี้ กล่าวแสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์ และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประเด็นปัญหาต่างๆของประเทศ ดังนี้

การเพิ่มทุนทางสังคม โดยเชื่อมโยงกับการแก้ปัญหาการดำรงชีพและสวัสดิการ ความจำเป็นในการอำนวยความสะดวกในการแสดงบทบาทของประชาชนและการลดการดำรงตำแหน่งของรัฐบาล การวิพากษ์วิจารณ์ถึงกระบวนการลดค่าเงินของสกุลเงินของชาติ ความคาดหวังของประชาชนจากทั้งสามสภาฯเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ความจำเป็นอีกครั้งในการกำหนดจุดยืนของความยุติธรรมในลำดับความสำคัญของประเทศ ความจำเป็นในการฟื้นฟูความแตกแยกทางสังคมโดยสื่อของชาติเป็นตัวแสดงหลัก การวิพากษ์วิจารณ์ถึงความล่าช้าในการก้าวหน้าของโครงการขนาดใหญ่ทางเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึง แผนพัฒนาชายฝั่งมักรอน ความจำเป็นในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของการแบ่งพรรคพวกและนโยบายขององค์กร เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วม การวิพากษ์วิจารณ์ถึงการไม่เพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงาน ความจำเป็นในการควบคุมตามหลักกฏหมายของหน่วยงานและองค์กรทั้งหมด การสนับสนุนความจริงจังของกลุ่มชนชั้นนำทางปัญญา และการปฏิรูปกระบวนการสรรหาอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ความเข้าใจที่ถูกต้องของผู้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับความสามารถของสตรี และความจำเป็นในการใช้ประโยชน์จากผู้เชี่ยวชาญอันยิ่งใหญ่ของหน่วยงานสตรีมุสลิมชาวอิหร่านในประเด็นต่างๆ ของประเทศ ความจำเป็นในการติดตามความยุติธรรมทางการศึกษาอย่างจริงจัง การสนับสนุนผู้ถูกกดขี่ในฉนวนกาซ่า และการวิพากษ์วิจารณ์ถึงจุดยืนที่นิ่งเฉยของเหล่าผู้ปกครองอิสลาม-อาหรับและการขาดเอกภาพอันพึงปรารถนาของโลกอิสลามในการต่อต้านกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในฉนวนกาซ่า ทั้งหมดเหล่านี้ถือเป็นประเด็นต่างๆที่ตัวแทนของชมรมนักศึกษาหยิบยกขึ้นมานำเสนอในการพบปะกับท่านอยาตุลลอฮ์คาเมเนอี

 

 

700 /