บรรดาสมาชิกสภาผู้ชำนาญการ เข้าพบท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม อยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี โดยท่านผู้นำกล่าวอธิบายถึงตรรกะและเหตุผลทางศาสนา สติปัญญา และมนุษยธรรม ที่ทำให้ระบอบของสาธารณรัฐอิสลามยืนหยัดต่อสู้ในการเผชิญหน้ากับแนวรบของชาติมหาอำนาจ จอมอหังการ พร้อมทั้งให้คำแนะนำที่สำคัญแก่สมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งของสภาผู้ชำนาญการชุดใหม่และรัฐสภาอิสลามชุดใหม่ โดยท่านกล่าวว่า “การจัดตั้งรัฐสภาอิสลามชุดใหม่ เป็นเหตุการณ์ที่มีความหอมหวาน มีความหวัง และทรงคุณค่า ซึ่งเจ้าหน้าที่ๆได้รับการเลือกตั้ง จะต้องรู้จักถึงคุณค่าของมัน”
การพบปะกันครั้งนี้ ถือเป็นการพบปะกันครั้งสุดท้ายของชุดสมัยที่ 5 ของสภาผู้ชำนาญการกับท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี โดยท่านผู้นำได้ชี้ให้เห็นถึงการเดินขบวนที่เต็มไปด้วยความกระตือรือร้นในวันที่ 22 บะฮ์มาน และการเลือกตั้งในวันที่ 11 อิสฟันด์ ถือว่า เดือนบะฮ์มานและอิสฟันด์ในปีนี้ เป็นสถานที่ในการแสดงถึงสัญลักษณ์ของประชาธิปไตยแบบอิสลาม ที่มากกว่าหลายปีที่ผ่านมา และท่านยังกล่าวอธิบายถึงตรรกะในการยืนหยัดของสาธารณรัฐอิสลามและการเผชิญหน้ากับเหล่าผู้กดขี่ โดยท่านกล่าวว่า “ก่อนการสถาปนาสาธารณรัฐอิสลาม มีแนวรบฝ่ายเดียวในโลก คือ แนวรบของระบอบประชาธิปไตยที่ขึ้นอยู่กับระบอบประชาธิปไตยแบบเสรีนิยมตะวันตก แต่ด้วยชัยชนะของการปฏิวัติอิสลาม แนวรบใหม่ได้ก่อตั้งขึ้นบนพื้นฐานของประชาธิปไตยแบบอิสลาม ซึ่งโดยธรรมชาติแล้ว จะต่อต้านแนวรบประชาธิปไตยแบบตะวันตก”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ถือว่า การผงาดขึ้นของต้นแบบประชาธิปไตยแบบอิสลามในอิหร่าน เป็นต้นเหตุของการทำลายผลประโยชน์ของแนวรบฝ่ายประชาธิปไตยแบบตะวันตก และเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งและการต่อต้านรัฐอิสลามอย่างต่อเนื่อง โดยท่านกล่าวว่า “เหตุผลที่พวกเขารู้สึกถึงอันตรายและความขัดแย้ง ก็คือว่า ในแก่นแท้ของระบบประชาธิปไตยแบบตะวันตก ความอหังการ และการรุกราน และมีการละเมิดสิทธิของประชาชาติต่างๆ การก่อสงคราม และการนองเลือดอย่างที่ไม่มีขอบเขตจำกัด เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ ซึ่งเห็นได้จากการล่าอาณานิคมของหลายประเทศในเอเชีย แอฟริกา และละตินอเมริกาในศตวรรษที่ 19 หมายถึง เป็นจุดสุดยอดของสโลแกนและการเรียกร้องต่างๆทางด้านประชาธิปไตย เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ถือว่า ประเด็นและแนวทางที่สำคัญที่สุดของแนวรบฝ่ายประชาธิปไตยแบบอิสลาม เนื่องจากมีลักษณะของอิสลามในการเผชิญหน้ากับความฉ้อฉลและการละเมิดต่างๆ และเพื่อเป็นคำตอบของคำถามที่ว่า ทำไมสาธารณรัฐอิสลามจึงต้องเผชิญหน้ากับแนวรบฝ่ายมหาอำนาจ จอมอหังการด้วย? โดยท่านกล่าวว่า “เราอยู่กับประเทศ รัฐบาล และชาติต่างๆ ด้วยตนเอง ซึ่งเรานั้นก็ไม่มีความขัดแย้งใดๆ แต่เราต่อต้านการกดขี่และการรุกรานที่มีอยู่ในแนวรบของฝ่ายประชาธิปไตยแบบตะวันตก”
ท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี ได้ยกเหตุการณ์ที่โหดร้ายในฉนวนกาซา เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการกดขี่และการรุกรานของแนวรบฝ่ายชาติมหาอำนาจ จอมอหังการ ที่มีต่อเจ้าของแผ่นดิน และการสังหารสตรีและเด็กอย่างไร้ปราณีและใจดำ ตลอดจนการทำลายทรัพย์สินและทรัพยากรของประชาชนในดินแดนนั้น โดยท่านผู้นำกล่าวว่า “การต่อต้านอย่างแท้จริงของสาธารณรัฐอิสลาม ถือเป็นการต่อต้านกับการกดขี่เช่นนี้ และนี่คืออาชญากรรมที่จะต้องถูกประณามด้วยการใช้สติปัญญา สังคม ศาสนบัญญัติ และมโนธรรมของมนุษย์ แต่สิ่งเหล่านี้ต่างได้รับการสนับสนุนจากอเมริกา อังกฤษ และบางประเทศในยุโรป”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม เน้นย้ำว่า “ประเด็นนี้ ควรมีความชัดเจนและเป็นที่ทราบด้วยว่า แนวรบของฝ่ายชาติมหาอำนาจ จอมอหังการ การกดขี่ การรุกราน และการสังหาร อยู่ภายใต้ชื่อว่า ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และเสรีนิยม”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ยังเน้นย้ำให้เห็นว่า สาธารณรัฐอิสลาม ควรที่จะเป็นผู้ถือธงชัยและผู้บุกเบิกในการเผชิญหน้ากับชาติมหาอำนาจ จอมอหังการ อย่างเสมอ โดยท่านกล่าวว่า “เราจะต้องเป็นผู้ถือธงชัยแห่งการต่อสู้ในการเผชิญหน้าชาติมหาอำนาจ ให้สูงยิ่งขึ้นในทุกวัน และจะไม่ยอมให้ธงชัยนี้ ถูกจำพรากไปจากสาธารณรัฐอิสลาม เป็นอันขาด”
ท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี ยังได้กล่าวอธิบายถึงตรรกะของสาธารณรัฐอิสลามในการยืนหยัดและการเผชิญหน้ากับเหล่ามหาอำนาจ สำหรับคนรุ่นใหม่ ถือเป็นภารกิจที่สำคัญยิ่ง โดยท่านผู้นำตั้งข้อสังเกตว่า “ช่างโชคดียิ่งนัก ที่ในช่วงกว่าสี่ทศวรรษแห่งอายุขัยของสาธารณรัฐอิสลาม ได้แสดงภาพลักษณ์ แนวรบร่วม และทิศทางในการต่อสู้กับชาติมหาอำนาจ จอมอหังการ จนกระทั่ง เรานั้นได้ประสบความสำเร็จ”
ในอีกส่วนหนึ่งของการปราศรัย ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ถือว่า ภารกิจของสภาผู้ชำนาญการ หมายถึง การกำหนดตัวของผู้นำสูงสุด และการระมัดระวังจากการรักษาคุณสมบัติของเขา เป็นหน้าที่ในการบริหารจัดการที่สำคัญที่สุดของสาธารณรัฐอิสลาม โดยท่านกล่าวเสริมว่า “สมาชิกสภาผู้ชำนาญการ ควรระมัดระวังอย่าได้เพิกเฉยต่อหลักการที่ตายตัวของสาธารณรัฐอิสลามในการเลือกตั้งต่างๆของตน”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม กล่าวอธิบายถึงหลักการที่ตายตัวและไม่เปลี่ยนแปลงของสาธารณรัฐอิสลาม โดยท่านได้ตั้งข้อสังเกตว่า “มีหลักการที่ตายตัว เช่น การดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม การต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชั่น และการยกระดับขององค์ความรู้และการปฏิบัติตามแบบฉบับอิสลามในสังคม ตามรัฐธรรมนูญ สุนทรพจน์ต่างๆของท่านอิมามโคมัยนี และคำสั่งสอนของอิสลาม ซึ่งบรรดาสมาชิกผู้ชำนาญการในการคัดเลือกผู้นำ ควรดำเนินการโดยคำนึงถึงและปฏิบัติตามหลักการที่ตายตัวเหล่านี้”
ในส่วนที่สามของการปราศรัยของท่าน อยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี ท่านได้กล่าวถึงการจัดการเลือกตั้งรัฐสภาอิสลาม ถือว่า การเข้ามาดำรงตำแหน่งของรัฐสภาชุดใหม่ในแต่ละสภา เป็นประเด็นที่มีความหอมหวาน และด้วยการเติบโตของความหวังใหม่และโอกาสใหม่ๆ ของประเทศ โดยท่านกล่าวว่า “การเข้าร่วมของบรรดาตัวแทนชุดใหม่ที่ควบคู่ไปกับตัวแทนของชุดก่อนๆ ซึ่งผสมผสานมาจากนวัตกรรมและการมีประสบการณ์ ถือเป็นทุนอันทรงคุณค่าและเป็นสายเลือดใหม่ ท่ามกลางสายเลือดต่างๆทางการเมือง”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม กล่าวถึงข้อตักเตือนที่สำคัญ ถ้อยคำที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง การทะเลาะวิวาท และความเข้มแข็งที่ไม่เป็นมิตร เป็นสาเหตุของความขมขื่นของการก่อตั้งรัฐสภาชุดใหม่ โดยท่านกล่าวว่า “บรรดาสมาชิกที่ได้รับการเลือกตั้งของรัฐสภาชุดใหม่ ควรระมัดระวังและอย่าได้ปล่อยให้ความหวานชื่นของการก่อตั้งรัฐสภาชุดใหม่ เป็นรัฐสภาที่มีความขมขื่นของประชาชน และบรรยากาศทางการเมืองที่สดชื่นของประเทศ กลายเป็นความข่มขื่น ในขณะที่หากรัฐสภาทะเลาะวิวาทกัน เผชิญหน้ากัน และมีการจัดตั้งเป็นฝ่ายต่างๆ ก็จะทำให้ภารกิจหลักของตนนั้นต้องหยุดชงักลง”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ยังชี้ให้เห็นถึงคำแนะนำต่างๆของท่านอะมีรุลมุอ์มินีน อะลี (อ.)ที่มีต่อเหล่าผู้บัญชาการของเขา เกี่ยวกับการมีตักวา(ความยำเกรงต่อพระเจ้า) หนึ่งในความจำเป็นที่แน่นอนสำหรับบรรดาเจ้าหน้าที่และข้าราชการของสาธารณรัฐอิสลาม คือ การเคร่งครัดทางศาสนาและการยึดมั่นต่อสิ่งที่เป็นฮะลาลและฮะรอม รวมทั้งการหลีกเลี่ยงออกจากการโกหก การนินทาว่าร้าย และการใส่ร้าย โดยท่านกล่าวเสริมว่า “เช่นเดียวกันกับที่เราจะต้องมีความยำเกรงในกิจการส่วนตัว ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางการเมือง และในการกระทำ เราก็ควรหลีกเลี่ยงออกจากสิ่งที่เป็นฮะรอม ด้วยการมีตักวาเช่นกัน”
ท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี กล่าวเสริมว่า “แน่นอนว่า ในประเด็นทางการเมืองย่อมมีรสนิยมและประเภททางการเมืองที่แตกต่างกัน ซึ่งไม่ใช่เป็นอุปสรรค แต่ทุกคน จะต้องมีตักวา เพื่อที่จะได้รับความเมตตาและเกียรติของพระผู้เป็นเจ้า”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ยังได้กล่าวเทอดเกียรติแก่ความทรงจำของสมาชิกสภาผู้ชำนาญการที่ล่วงลับไปแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มัรฮูมอยาตุลลอฮ์ อิมามี กาชานี และถือว่า เดือนชะอ์บาน เป็นเดือนแห่งการแจ้งข่าวดีและความยินดี และเป็นเดือนแห่งการชำระล้างร่างกายให้สะอาดและการเตรียมหัวใจให้พร้อมด้วยการให้อภัย ดุอาอ์ และคำวิงวอน เพื่อเข้าสู่เดือนรอมฎอน อันจำเริญ และขออภัยโทษของพระผู้เป็นเจ้า ในวันที่เหลืออยู่ของเดือนนี้
ในช่วงเริ่มต้นของการพบปะกันครั้งนี้ อยาตุลลอฮ์ ญันนะตี ประธานสภาผู้ชำนาญการ ได้กล่าวรายงานเกี่ยวกับการจัดประชุมครั้งล่าสุด โดยอธิบายถึงข้อกังวลต่างๆที่ได้รับมาจากบรรดาสมาชิกของสภาแห่งนี้
นอกจากนี้ อยาตุลลอฮ์ ฮุซัยนี บูเชฮ์รี ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะผู้บริหารของสภาผู้ชำนาญการ ยังได้รายงานเกี่ยวกับการประชุมครั้งล่าสุด สมัยที่ 5 ของสภาผู้ชำนาญการและกล่าวถึงประเด็นหลักของบรรดาสมาชิก โดยเขากล่าวว่า “มีการพบปะหารือกับประธานาธิบดีและมีการพูดคุยถึงปัญหาต่างๆหลายชั่วโมง ยังมีการตรวจสอบปัญหาต่างๆทางด้านเศรษฐกิจ ด้วยการเชิญรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และนอกเหนือจากนี้ ยังมีการรายงานที่เกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในภูมิภาค โดยผู้บัญชาการกองทัพกุดส์ ทั้งหมดเหล่านี้ เป็นรูปแบบงานของการประชุมดังกล่าวนี้