ชนชั้นนำทางปัญญา และเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ หลายร้อยคน เข้าพบท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม อยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี โดยท่านผู้นำเรียกร้องให้มีการก้าวกระโดดทางวิทยาศาสตร์ครั้งใหม่และนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ และการเข้าสู่ฤดูกาลใหม่ของการขับเคลื่อนเชิงนวัตกรรมในศูนย์กลางทางวิทยาศาสตร์และมหาวิทยาลัย รวมทั้งสภาพแวดล้อมต่างๆ
ท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี ยังชี้ให้เห็นถึงอาชญากรรมที่กระทำโดยรัฐเถื่อนไซออนิสต์ในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซา และท่านผู้นำสูงสุดยังเน้นย้ำให้เห็นถึงการยุติการทิ้งระเบิดในทันที และท่านยังชี้ให้เห็นถึงบทบาทที่เป็นรูปธรรมของพวกสหรัฐฯในการกำหนดนโยบายของระบอบไซออนิสต์ โดยท่านกล่าวว่า “ประชาชาติมุสลิมและแม้แต่ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมในโลกต่างรู้สึกโกรธแค้นต่ออาชญากรรมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องของรัฐเถื่อน ผู้ยึดครอง และหากความชั่วร้ายเหล่านี้ยังคงดำเนินต่อไป ชาวมุสลิมทั่วทั้งโลกและขบวนการของการยืนหยัดต่อสู้ก็จะหมดความอดทนและไม่มีผู้ใดที่จะสามารถหยุดยั้งพวกเขาได้”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ถือว่า สถานการณ์ล่าสุดในปาเลสไตน์ เป็นอาชญากรรมที่ชัดเจนของระบอบรัฐเถื่อนไซออนิสต์และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อย่างเปิดเผยต่อหน้าต่อตาของผู้คนทั้งโลก โดยท่านกล่าวว่า “การประท้วงของเจ้าหน้าที่ของบางประเทศในการสนทนากับเจ้าหน้าที่ของเรา ที่ว่าทำไมชาวปาเลสไตน์ต้องสังหารพลเรือนด้วย? คำกล่าวนี้ ไม่เป็นความจริง เพราะผู้ที่อยู่อาศัยในนิคมไม่ใช่พลเรือนและมีการติดอาวุธ แต่ถึงแม้จะสมมติว่าพวกเขานั้นเป็นพลเรือน มีผู้เสียชีวิตกี่คนหรือ ขณะที่มีพลเรือนชาวปาเลสไตน์ที่ถูกสังหารเสียชีวิตไปแล้วกี่คนในปัจจุบัน?”
ท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี กล่าวเสริมว่า “ระบอบรัฐเถื่อนที่ยึดครองได้สังหารผู้คนจำนวนหลายร้อยเท่า อาทิเช่น ผู้หญิง เด็ก พลเรือนคนชราและเยาวชนหลายพันคน ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมานี้ และด้วยการทิ้งระเบิดเข้าใส่ศูนย์กลางและอาคารที่มีประชากรหนาแน่น ซึ่งเป็นที่ทราบดีว่าเป็นสถานที่พักอาศัยของพลเรือนต่อหน้าต่อตาของชาวโลก ถือว่านี่เป็นการก่ออาชญากรรม”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม เน้นย้ำให้เห็นว่า รัฐบาลเถื่อนไซออนิสต์ที่ยึดครอง ควรถูกดำเนินคดีในข้อหาก่ออาชญากรรมเหล่านี้อย่างแน่นอน โดยถือว่า รัฐบาลสหรัฐจะต้องรับผิดชอบต่อนโยบายของระบอบรัฐเถื่อนอีกด้วย โดยท่านกล่าวเสริมว่า “ตามข้อมูลจำนวนมาก นักการเมืองและผู้กำกับดูแลนโยบายปัจจุบันของรัฐเถื่อนไซออนิสต์ คือ พวกสหรัฐฯ และอเมริกา จะต้องรับผิดชอบในกรณีนี้ และจะต้องรู้จักความรับผิดชอบของตนเอง”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ยังเน้นย้ำให้เห็นว่า ควรยุติการวางระเบิดโดยทันที โดยถือว่า การรวมตัวของกลุ่มประชาชาติมุสลิมในประเทศอิสลามและแม้แต่ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมในอเมริกาและยุโรป ถือเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงความโกรธอันร้ายแรงของประชาชาติทั้งหลายต่ออาชญากรรมของรัฐเถื่อนไซออนิสต์ โดยท่านกล่าวว่า “หากอาชญากรรมเหล่านี้ยังคงดำเนินต่อไป ชาวมุสลิมและขบวนการของการต่อสู้ จะไม่อดทนอีกต่อไป และก็ไม่มีผู้ใดสามารถที่จะหยุดยั้งพวกเขาได้ พวกเขาควรรู้ถึงข้อเท็จจริงนี้และพวกท่านอย่าได้คาดหวังว่า จะไม่ปล่อยให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งกระทำการใดก็ตาม”
ท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี กล่าวเสริมว่า “แน่นอนว่า ไม่ว่ารัฐเถื่อนไซออนิสต์จะกระทำอะไรก็ตาม ก็ไม่สามารถชดเชยความล้มเหลวอันน่าอับอายในกรณีนี้ได้”
ในช่วงเริ่มต้นของการพบปะกันครั้งนี้ ท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี หลังการกล่าวปราศรัยของกลุ่มชนชั้นนำทางปัญญาทั้ง 7 คน ในประเด็นด้านยานยนต์ เทคโนโลยีควอนตัม การเกษตร การต่อสู้กับมลพิษทางอากาศ ความยุติธรรมทางเศรษฐกิจ-สังคม การแพทย์แผนโบราณ และระบบนิเวศบนฐานความรู้ของประเทศ และการให้ความใส่ใจของบรรดาเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารและการติดตามของสภาการบริหารจัดการในประเด็นต่างๆที่ชนชั้นนำทางปัญญานำ เสนอ และการเชื่อมโยงของสังคมของกลุ่มชนชั้นนำทางปัญญาของประเทศกับเยาวชนผู้บริหารในระดับต่างๆ ของรัฐบาล ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ถือว่า จุดเริ่มต้นของการก้าวกระโดดทางวิทยาศาสตร์และการขับเคลื่อนที่ประสบผลสำเร็จในสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 2 ทศวรรษที่แล้ว โดยท่านกล่าวว่า “การเพิ่มความเร็วของการเติบโตทางวิทยาศาสตร์ของประเทศและสูงถึง 12 เท่าของอัตราการเติบโตเฉลี่ยทั่วโลก ถือเป็นหนึ่งในผลลัพธ์อันน่ายินดีของการขับเคลื่อนดังกล่าว และในปัจจุบันนี้ กลุ่มชนชั้นนำทางปัญญา บรรดานักศึกษาและศูนย์กลางทางวิทยาศาสตร์และมหาวิทยาลัยของประเทศ ควรเตรียมตัวสำหรับการเติบโตครั้งใหม่และฤดูกาลใหม่ของการขับเคลื่อนทางวิทยาศาสตร์เชิงนวัตกรรม”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ถือว่า ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ของบางประเทศในภูมิภาคหลังจากการสังเกตถึงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ของอิหร่าน โดยท่านกล่าวเสริมว่า “เราไม่ควรหยิ่งยะโสกับผลลัพธ์ของการขับเคลื่อนในครั้งก่อนและล้าหลังจากการแข่งขันทางวิทยาศาสตร์ของโลกในปัจจุบัน เพราะแม้ว่าจะมีความก้าวหน้าไปมากเพียงใด แต่เราก็ยังล้าหลังทั้งในด้านความรู้และวิทยาศาสตร์”
ท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี ยังได้ชี้ถึงคำพูดของอิมามอะลี ผู้เป็นนายแห่งศรัทธาชน (อ.) ที่เกี่ยวกับพลังอำนาจของความรู้ โดยท่านผู้นำกล่าวว่า “ความรู้ คือ ผู้ปกครอง ด้วยเหตุนี้เอง หากเราต้องการที่จะปกป้องประเทศให้พ้นจากอันตรายทั่วไปของโลก เราจะต้องพยายามอย่างหนักหน่วงเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ถือว่า การลงทุนทางด้านวัตถุของรัฐบาล การลงทุนของภาคเอกชน และการลงทุนในสภาพแวดล้อมทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความพยายามในเชิงนวัตกรรม และการค้นหาวิธีการแก้ไขปัญหาแบบทางลัด เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นสำหรับการขับเคลื่อนครั้งใหม่ของกลุ่มชนชั้นนำทางปัญญา และทางวิทยาศาสตร์ โดยท่านกล่าวว่า “เราจะต้องใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ รวมทั้งบรรดาเยาวชน ผู้บริหารของประเทศและความอุตสาหะของกลุ่มชนชั้นนำทั้งหมด เพื่อที่จะบรรลุสู่การก้าวกระโดดครั้งใหม่นี้”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ถือว่า อนาคตของประเทศนั้น มีความสดใสและมีความหวัง แต่ท่านกล่าวเสริมว่า “ประสบการณ์ได้บอกกับเราว่า เราควรใช้โอกาสในปัจจุบันให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด และอาศัยเจตจำนงและความสามารถ รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ในประเทศ เอาชนะเหนือความลาดชันที่สูงขึ้นด้วยความแข็งแกร่ง”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ถือว่า การขาดเจตจำนง ความสิ้นหวัง และการขาดความมั่นใจในความสามารถของตนเอง เป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าของทุกประเทศ และท่านยังได้ชี้ให้เห็นถึงคำพูดที่ดูหมิ่นของนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งในยุคเผด็จการ ซึ่งเกี่ยวกับการไร้ความสามารถของประชาชาติอิหร่านในการผลิตท่อถังน้ำดินเผา โดยท่านกล่าวว่า “ในช่วงยุคสมัยเผด็จการ ปัจจัยทั้งหมด คือ ความไม่ก้าวหน้า และความล้าหลังอย่างต่อเนื่อง แต่ในปัจจุบันนี้ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระผู้เป็นเจ้า เรามีทั้งเจตจำนงและความสามารถในการขับเคลื่อนและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อีกด้วย”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ถือว่า บรรดาเยาวชนที่สำเร็จการศึกษาและนักศึกษาหลายล้านคน เป็นความมั่งคั่งอันยิ่งใหญ่และมีคุณค่า โดยท่านกล่าวเสริมว่า “ส่วนมากของเยาวชนคนหนุ่มสาวที่มีแรงบันดาลใจและมีชีวิตชีวานั้นมีข้อเสนอแนะอันทรงคุณค่าสำหรับการแก้ไขปัญหาต่างๆ”
ผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ถือว่า ความต้องการและความสามารถ เป็นสองความเป็นจริงของประเทศในปัจจุบัน โดยท่านกล่าวเสริมว่า “หากว่า บรรดาเจ้าหน้าที่ ศูนย์วิทยาศาสตร์ และกลุ่มชนชั้นนำ ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากโอกาสนี้ ทำให้อิหร่านและประวัติศาสตร์ของประเทศถูกฉ้อฉล”
ท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี ถือว่า ความรู้ เสมือนเป็นแหล่งของความมั่งคั่งและความรับผิดชอบ โดยท่านผู้นำกล่าวเสริมว่า “ทุกคนจะกลายเป็นชนชั้นนำทางความรู้ และยกสถานภาพของพวกเขา ทั้งจากความรู้และจากเครดิตที่พวกเขาได้รับในสังคมโดยผ่านความรู้นั้น พวกเขาควรที่จะรับใช้ประชาชน”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ยังได้ยกคำกล่าวของอิมามอะลี นายแห่งศรัทธาชน (อ.) บนพื้นฐานความมุ่งมั่นของนักการศาสนาและนักปราชญ์สำหรับการรู้จักและการปกป้องผู้ที่ถูกกดขี่จากการกดขี่ข่มเหง โดยท่านกล่าวว่า “ปฏิกิริยาต่ออาชญากรรมของระบอบรัฐเถื่อนไซออนิสต์ในฉนวนกาซา เป็นหนึ่งในหน้าที่รับผิดชอบที่พระผู้เป็นเจ้าทรงมอบให้กับนักปราชญ์ทั้งหลาย”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม กล่าวต่อเนื่องในการปราศรัยของตน โดยท่านชี้ให้เห็นถึงคำเตือนก่อนหน้านี้ที่เกี่ยวกับการปฏิรูปขั้นตอนตามเงื่อนไขเพื่อยกระดับบรรดาคณาจารย์มหาวิทยาลัยในการเขียนบทความทางวิชาการ และวิพากษ์วิจารณ์ความต่อเนื่องของกระบวนการที่ไร้ตรรกะ โดยท่านกล่าวว่า “การเขียนบทความและการตีพิมพ์ งานวิจัยและบทความที่เชื่อถือได้ในนิตยสารและศูนย์วิทยาศาสตร์ของโลกและบริษัท ถือเป็นเรื่องดีที่จะต้องกระทำในการแข่งขันทางวิทยาศาสตร์ของโลก แต่ก็ไม่สมควรที่จะยกระดับบรรดาคณาจารย์โดยขึ้นอยู่กับประเด็นนี้เพียงเท่านั้น”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม กล่าวเสริมว่า “แน่นอนว่า บทความทางวิชาการที่ดี เป็นวิธีการยกระดับชื่อเสียงและเป็นที่น่าเชื่อถือทางด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศ ซึ่งสถาบันการจัดการทางวิทยาศาสตร์ของประเทศ ควรหาวิธีการที่เหมาะสมสำหรับการยกระดับนี้ เพื่อให้อันดับทางวิทยาศาสตร์ของประเทศไม่ลดลงในการจัดอันดับของโลก”
ท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี เน้นย้ำว่า “จุดประสงค์หลักในการผลิตบทความและวิทยานิพนธ์ทางวิทยาศาสตร์ และการวิจัย คือ การช่วยแก้ไขปัญหาของประเทศ โดยท่านผู้นำกล่าวเสริมว่า สุขภาพและความปลอดภัย ที่อยู่อาศัย ความมั่นคง โภชนาการ ครอบครัว สิ่งแวดล้อม การปฏิรูปโครงสร้างภาครัฐและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมถึงประเด็นอื่นๆ ของประเทศ ที่ควรจะผลิตบทความทางวิชาการและงานวิจัยที่แข็งแกร่งพร้อมทั้งแนวทางในการแก้ไข และในประเด็นนี้ไม่ควรจำกัดอยู่เพียงงานหนังสือพิมพ์หรือที่เรียกว่าการบันทึกข่าวเท่านั้น”
ประเด็นสุดท้ายในการปราศรัยของท่านผู้สูงสุดการปฏิวัติอิสลาม โดยท่านกล่าวอธิบายถึงหน้าที่ของบรรดาเจ้าหน้าที่รัฐฯที่มีต่อกลุ่มชนชั้นนำทางปัญญาว่า “เจ้าหน้าที่ทั้งหลายควรทำให้กลุ่มชนชั้นนำทางปัญญารู้สึกว่าพวกเขานั้นมีประโยชน์”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ถือว่า ในหมู่ปัจจัยของการอพยพของกลุ่มชนชั้นนำทางปัญญา (ซึ่งบางครั้งมีคำพูดที่เกินจริงด้วยเช่นกัน) คือ ความรู้สึกไร้ประโยชน์ในกลุ่มชนชั้นนำทางปัญญา โดยท่านกล่าวเสริมว่า “ความเป็นไปได้ในการสร้างงาน และความเป็นไปได้ของการศึกษาและการวิจัยอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นสองความคาดหวังของกลุ่มชนชั้นนำทางปัญญาที่มีต่อหน่วยงานการบริหารจัดการของประเทศ ซึ่งมีความเป็นไปได้ทั้ง 2 ประการ”
ท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี ถือว่า การจัดตั้งบริษัทฐานความรู้ เป็นหนึ่งในปัจจัยของความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและวิทยาศาสตร์ของประเทศ และในขณะเดียวกันก็สร้างความรู้สึกของการมีประโยชน์ในหมู่กลุ่มชนชั้นนำทางปัญญา โดยท่านผู้นำเน้นย้ำว่า “พวกท่านทั้งหลาย จะต้องเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้บริษัทฐานความรู้ ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งคือ การหลีกเลี่ยงอย่างสมบูรณ์ของหน่วยงานภาครัฐฯและบริษัทต่าง ๆ จากการนำเข้าและการซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ที่คล้ายกันกับที่ผลิตโดยบริษัทฐานความรู้”
ก่อนการปราศรัยของท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ตัวแทนของกลุ่มชนชั้นนำทางปัญญาทั้ง 7 คน ได้กล่าวรายงานและข้อเสนอ ซึ่งมีรายชื่อดังต่อไปนี้
-ซัยยิด มุสฏอฟา มะฮ์ดะวี ปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมการบินและอวกาศจากมหาวิทยาลัยชารีฟและนักวิจัยอุตสาหกรรมยานยนต์และรถไฟ
-ชุคูเฟห์ อะฮ์มะดี นักศึกษา สาขากฎหมายเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยอัลลามะฮ์ฏอบาฏอบาอีและผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจากโครงการมูลนิธิกลุ่มชนชั้นนำทางปัญญา
-ชะฮ์รอม สุไลมานี ปริญญาเอก สาขาฟิสิกส์จากสถาบันวิทยาศาสตร์และการวิจัยของมหาวิทยาลัยอาซาดอิสลาม และเป็นสมาชิกหนึ่งในร้อยของนักวิทยาศาสตร์ที่ถูกกล่าวถึงของสมาคมเคมีแห่งสหรัฐอเมริกา
-ฮามิด ราฟีอี สมาชิกของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเตหะราน และผู้อำนวยการฝ่ายธรรมาภิบาลและกฎหมายของจังหวัดอัลบุรซ์
-มัรยัม ซาริอ์ สมาชิกของคณะมหาวิทยาลัยคอเญห์ นาซีร และผู้ได้รับรางวัลวิทยาศาสตร์จากมูลนิธิปัญญาชนชั้นนำระดับชาติ
-มุฮัมมัดซอดิก อาเดลเมฮ์ระบอน นักศึกษาปริญญาเอก สาขาการแพทย์แผนโบราณจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์กรุงเตหะราน และเป็นนักศึกษาชั้นนำของประเทศในสาขาการแพทย์แผนโบราณ
และ ซะอีดวิดาดี คิลานตัร ปริญญาเอก สาขาพลังงาน ด้านการสร้างแบบจำลองพลังงานจากมหาวิทยาลัยเตหะรานและผู้บริหารโครงการวิจัยในสาขาพลังงาน
โดยมีประเด็น ข้อวิพากษ์วิจารณ์ และข้อเสนอแนะเหล่านี้ :
- กลไกของการสร้างบทบาทของบริษัทฐานความรู้ในสาขารถยนต์
- การปรับปรุงการดำเนินของนโยบายที่ถูกกีดกันในพื้นที่ด้อยโอกาส
- ความสำคัญของการลงทุนของประเทศทางด้านเทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์และการสร้างพลังงาน เช่น เทคโนโลยีควอนตัมและอุตสาหกรรมชิป เป็นต้น
- ความท้าทายของการกำหนดนโยบายภาคเกษตรกรรมและการปฏิรูปกระบวนการในการมีส่วนร่วมของสถาบันวิทยาศาสตร์และองค์ประกอบทางวิชาการในสาขานี้
- ยกระดับวาระในด้านการจัดการมลพิษทางอากาศและการปฏิรูประบบการกระจายเงินช่วยเหลือของรัฐฯในสาขาพลังงาน
- ความสำคัญของสถานภาพระดับโลกของยาแผนโบราณและพืชสมุนไพร ข้อได้เปรียบสัมพัทธ์ของอิหร่านและตลาดการบริการระดับโลกและผลิตภัณฑ์ในประเด็นนี้
- และการเติบโตอย่างแข็งขันของความสัมพันธ์ระหว่างอุตสาหกรรมหลักและบริษัทฐานความรู้
นอกจากนี้ ในช่วงเริ่มต้นของการพบปะกันครั้งนี้ นายเดห์กอนี ฟิรูซอาบาดี รองประธานาธิบดีฝ่ายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และเศรษฐศาสตร์ฐานความรู้ และประธานมูลนิธิชนชั้นนำทางปัญญา กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของมูลนิธินี้ จากองค์กรการค้าไปสู่ศูนย์กลางที่ทรงอิทธิพลทางด้านปัญญาของประเทศในรัฐบาลสมัยที่ 13 โดยกล่าวรายงานเกี่ยวกับการเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจของบริษัท ฐานความรู้ การออกแบบใหม่ของสำนักงานใหญ่การพัฒนาเทคโนโลยี การดำเนินการตามรูปแบบของกลุ่มสมาคมฐานความรู้ ความจำเป็นในการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ของบริษัทฐานความรู้และการตั้งเป้าหมายในการสร้างธนาคารเศรษฐกิจฐานความรู้ โดยอาศัยเงินทุนของบริษัทฐานความรู้