พณฯ ราญับ ฏัยยิบ เออร์โดกาน ประธานาธิบดีตุรกี พร้อมคณะผู้ติดตาม เข้าพบท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม อยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี โดยท่านผู้นำได้กล่าวเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเพิ่มขีดความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะ ความร่วมมือทางการค้า โดยถือว่า รัฐเถื่อนไซออนิสต์ คือ ปัจจัยหลักในการสร้างความแตกแยกระหว่างประเทศอิสลาม และท่านผู้นำยังได้เน้นย้ำให้เห็นว่า สหรัฐฯและรัฐเถื่อน ไม่อาจสามารถที่จะขัดขวางการเคลื่อนไหวที่ลึกซึ้งของชาวปาเลสไตน์ได้ โดยเฉพาะในกรณีประเด็นซีเรีย โดยท่านผู้นำได้ตั้งข้อสังเกตว่า “การรักษาบูรณภาพแห่งดินแดนของซีเรีย เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก และไม่ว่าอย่างไรก็ตาม การโจมตีทางทหารยังตอนเหนือของซีเรีย รังแต่จะสร้างความเสียหายต่อตุรกี ซีเรีย และภูมิภาคทั้งหมด ขณะที่กลุ่มผู้ก่อการร้าย จะเป็นผู้ที่ได้รับผลประโยชน์เหล่านี้”
ในการเข้าพบปะกันครั้งนี้ ท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี ถือว่า ปริมาณและคุณภาพของการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศ เป็นสิ่งที่น้อยอย่างมากกว่า ขีดความสามารถที่มีอยู่ และท่านผู้นำสูงสุดยังได้เน้นย้ำว่า “ปัญหานี้ ควรที่จะได้รับการแก้ไขในการเจรจาระดับประธานาธิบดีร่วมกัน”
ท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี ถือว่า เกียรติยศและความยิ่งใหญ่ของประชาชาติอิสลามนั้นขึ้นอยู่กับการก้าวผ่านความแตกต่างของรสนิยมและความเฉลียวฉลาดต่อนโยบายที่สร้างความแตกแยก โดยท่านกล่าวว่า “รัฐเถื่อนไซออนิสต์ คือ หนึ่งในปัจจัยหลักของการสร้างความแตกแยกและความเป็นปฏิปักษ์ในภูมิภาคนี้ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ด้วยเช่นกัน”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ถือว่า ปาเลสไตน์ เป็นปัญหาแรกของโลกอิสลาม โดยท่านได้เน้นย้ำว่า “แม้ว่ารัฐบาลบางประเทศจะตอบรับรัฐเถื่อนไซออนิสต์ก็ตาม แต่ทว่าก็มีประเทศต่างๆ ที่มีการต่อต้านรัฐเถื่อนไซออนิสต์นี้อย่างลึกซึ้ง”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ได้เน้นย้ำให้เห็นว่า เราไม่ควรที่จะพึ่งพาอเมริกาและรัฐเถื่อนไซออนิสต์ โดยท่านกล่าวว่า “ในทุกวันนี้ ไม่ว่า ทั้งรัฐเถื่อนไซออนิสต์ อเมริกา และผู้อื่นๆ จะไม่สามารถที่ยับยั้งการเคลื่อนไหวอย่างลึกซึ้งของชาวปาเลสไตน์ได้ และในท้ายที่สุดของการกระทำนั้น ประชาชนชาวปาเลสไตน์ก็จะได้รับประโยชน์ทั้งสิ้น”
ท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี ยังถือว่า ปัญหาบูรณภาพแห่งดินแดนของซีเรียนั้น มีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยท่านผู้นำได้ชี้ให้เห็นถึงคำพูดบางรายงานที่เกี่ยวกับการโจมตีทางทหารยังตอนเหนือของซีเรีย โดยท่านได้เน้นย้ำว่า “การกระทำเช่นนี้ รังแต่จะสร้างความเสียหายอย่างแน่นอนต่อซีเรีย ทั้งตุรกี และภูมิภาคทั้งหมดด้วยและการดำเนินการทางการเมืองที่คาดหวังจากรัฐบาลซีเรีย ก็จะไม่บรรลุผลอีกด้วยเช่นกัน”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ยังได้ชี้ถึงการเปิดเผยของประธานาธิบดีตุรกีในการแสดงความเกลียดชังต่อกลุ่มผู้ก่อการร้าย โดยท่านกล่าวว่า “แน่นอนว่าจะต้องมีการปราบปรามกลุ่มผู้ก่อการร้าย แต่ทว่า การโจมตีทางทหารยังตอนเหนือของซีเรียนั้น กลุ่มผู้ก่อการร้ายจะได้รับผลประโยชน์ ซึ่งแน่นอนว่า กลุ่มผู้ก่อการร้าย แม้ว่าจะไม่ถูกจำกัดเพียงกลุ่มเดียวก็ตาม”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ได้ตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของประธานาธิบดีตุรกี บนพื้นฐานของความร่วมมือกับอิหร่านในการต่อสู้กับกลุ่มผู้ก่อการร้าย โดยท่านกล่าวว่า “เราจะร่วมมือกับ พณฯท่านในการต่อสู้กับกลุ่มผู้ก่อการร้ายอย่างแน่นอน”
ท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี ได้เน้นย้ำให้เห็นว่า เราถือว่าความมั่นคงของตุรกีและเขตพรมแดน เป็นความมั่นคงของเรา โดยท่านผู้นำกล่าวกับ พณฯ เออร์โดกัน ระบุว่า พณฯท่าน ต้องถือว่าความมั่นคงของซีเรีย เป็นความมั่นคงของท่าน และปัญหาซีเรีย ควรที่จะได้รับการแก้ไขโดยผ่านการเจรจา และอิหร่าน ทั้งตุรกี ซีเรีย และรัสเซีย ควรยุติปัญหานี้ด้วยกับการเจรจา”
และเช่นเดียวกัน ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลามได้กล่าวแสดงความพอใจกับการกลับคืนมาของนากอร์โน-คาราบาคห์ ยังอาเซอร์ไบจาน โดยท่านกล่าวว่า “แน่นอนว่า หากมีนโยบายปิดกั้นพรมแดนระหว่างอิหร่านและอาร์เมเนีย สาธารณรัฐอิสลามก็จะทำการคัดค้าน เพราะว่าพรมแดนแห่งนี้นั้น เป็นเส้นทางคมนาคมที่เคยกระทำมานับหลายพันปี”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ถือว่า การเพิ่มขึ้นของความร่วมมือระหว่างอิหร่านและตุรกีในประเด็นระดับภูมิภาคทั้งหมดนั้น มีประโยชน์และมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยท่านกล่าวเสริมว่า “เราปกป้องรัฐบาลของ พณฯท่าน มาโดยตลอดในประเด็นภายในประเทศและในการเผชิญหน้ากับการแทรกแซงต่างๆ และดั่งคำกล่าวของท่านที่ว่า พวกเรานั้นเป็นมิตรกันในยามที่ยากลำบาก และเราขออธิษฐานให้กับประชาชาติมุสลิมชาวตุรกี”
ในการพบปะกันครั้งนี้ พณฯ ราอีซี ประธานาธิบดีอิหร่าน ได้เข้าร่วมอยู่ด้วย โดย พณฯแออร์โดกาน ได้กล่าวแสดงความยินดีในวันอีดกุรบานและอีดเฆาะดีรคุม ถือว่า ความเป็นเอกภาพของประชาชาติอิสลาม และการเพิ่มขึ้นของความร่วมมือกันระหว่างอิหร่านกับตุรกี เป็นสิ่งที่มีความจำเป็น โดยเขากล่าวว่า “ตุรกีนั้นไม่เคยนิ่งเฉย เมื่อเผชิญหน้ากับความโหดร้ายที่มีต่ออิหร่าน และจะต้องมีการขยายภราดรภาพระหว่างอิหร่านและตุรกีออกไปในทุกๆด้าน”
ประธานาธิบดีเออร์โดกาน ยังได้เน้นย้ำให้เห็นว่า “ตุรกีได้ต่อต้านมาตรการคว่ำบาตรเพียงฝ่ายเดียวที่มีต่ออิหร่าน มาโดยตลอดและจะต่อต้านอีกต่อไป และเรานั้นให้การสนับสนุนจากความคาดหวังที่ถูกต้องของอิหร่านในกรณีข้อตกลงนิวเคลียร์ และเราจะเชิญชวนบริษัทต่างๆของตุรกีให้เข้ามาลงทุนในอิหร่านอีกด้วย”
ประธานาธิบดีตุรกี ยังได้ชี้ถึงการพิพาทกันระหว่างอิหร่านกับตุรกีในหลายปีที่ผ่านมา โดยเขากล่าวว่า “กลุ่มผู้ก่อการร้ายต่างๆที่อยู่ในซีเรียต่างได้รับการสนับสนุนทางอาวุธหนักจากฝ่ายชาติตะวันตก เช่น เยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหรัฐอเมริกา”
พณฯ เออร์โดกาน ได้กล่าวอธิบายถึงจุดยืนของตุรกี โดยเฉพาะ การบูรณาภาพ ถือว่า มีความชัดเจน โดยเขากล่าวเสริมว่า “เราหวังจากรัฐบาลซีเรียว่า จะเริ่มมีกระบวนการทางการเมือง และวาระที่สำคัญในการประชุมอัสตานา คือ ปัญหาซีเรีย ถือเป็นหลัก และเรายังหวังอีกว่า เราจะได้รับผลลัพธ์ที่ดีอีกด้วย