ประธานตุลาการสูงสุดและคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายตุลาการ เข้าพบท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม อยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี โดยท่านผู้นำถือว่า หน่วยงานฝ่ายตุลาการ จะต้องอธิบายซุนนะฮ์ (จารีตดั้งเดิม)ที่ไม่เปลี่ยนแปลงของพระเจ้าในสังคมต่างๆ โดยท่านกล่าวว่า “การยืนหยัดและความพยายาม คือ รหัสยแห่งความภาคภูมิใจและชัยชนะอันมหัศจรรย์ของประชาชาติอิหร่านในการเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่และขมขื่นในปี 1360 (ปฏิทินอิหร่าน)และการไม่หวาดกลัวเหล่าศัตรู ซึ่งทั้งหมดนี้คือ ซุนนะฮ์ของพระเจ้าที่เกิดขึ้นมาโดยตลอดหลายครั้งด้วยกัน และเราจะต้องพึงรู้ไว้เถิดว่า พระผู้เป็นเจ้าในปี 1401 ก็คือ พระผู้เป็นเจ้าในปี 1360 นั่นเอง
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ถือว่า สภาตุลาการสูงสุด คือ เสาหลักที่สำคัญและส่งผลต่อปัญหาต่างๆของประเทศ และท่านยังให้ข้อเสนอแนะทั้งแปดประการแก่บรรดาเจ้าหน้าที่ฝ่ายตุลาการของสภาตุลาการสูงสุด เช่น การดำเนินการอย่างจริงจังในเอกสารความเปลี่ยนแปลงในทุกระดับชั้น การต่อสู้กับการทุจริตคอรัปชั่น การป้องกันการถูกทำลายสิทธิของสาธารณชน การระมัดระวังความมั่นคงทางจิตใจของมนุษย์ การปรับความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานตุลาการกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฏหมาย และจนในที่สุดการเปิดเผยบัญชีคดีความต่อประชาชน
ท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี ได้กล่าวเทอดเกียรติทั้งร่วมรำลึกความทรงจำของท่านชะฮีดเบเฮชตี และบรรดาชะฮีดอื่นๆในวันที่ 7 ของเดือนทีร โดยท่านผู้นำถือว่า ชะฮีดเบเฮชตี คือ บุคคลที่มีบุคลิกที่โดดเด่น และท่านยังได้ชี้ถึงสถานการณ์ที่ซับซ้อนอันจำเพาะของช่วงหนึ่งเดือน ก่อนวันที่ 7 เดือนทีร ปี 1360 โดยท่านกล่าวว่า “การตรวจสอบสถานการณ์ในช่วงนั้นสำหรับวันนี้ จะเป็นการเพิ่มความรู้และเป็นทางออกให้กับปัญหาต่างๆอีกด้วย”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ได้กล่าวย้อนอดีตถึงสถานการณ์เมื่อปี 1360 และเหตุการณ์หลายเดือนก่อนเหตุการณ์วันที่ 7 เดือนทีร โดยท่านได้ชี้ว่า ท่ามกลางสถานการณ์สงครามภาคบังคับที่มีความยากลำบากและกองกำลังทหารของซัดดามก็รุกคืบเข้ามาใกล้ชิดในหลายเมืองใหญ่ทางตะวันตกและตอนใต้ของประเทศ โดยท่านกล่าวเสริมว่า “ในสถานการณ์ที่ยากลำบากอย่างมาก ในกรุงเตหะรานก็มีการก่อสงครามกลางเมืองจากพวกมุนาฟิกีน ขณะที่ทางการเมือง ก่อนหน้าวันที่ 7 เดือนทีร หลายวัน ที่รัฐสภาก็มีการโหวตไม่ไว้วางใจประธานาธิบดี ซึ่งประเทศในขณะนั้นถือได้ว่าไม่มีประธานาธิบดี ในสถานการณ์เช่นนี้ พวกเขาได้ยึดอำนาจการปฏิวัติอิสลามและรัฐอิสลามจากท่านชะฮีดเบเฮชตี
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ยังได้ชี้ถึงเหตุการณ์การเป็นชะฮีดของประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีในช่วงสองเดือน หลังจากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 7 เดือนทีร และเหตุการณ์หลังจากนั้น ทั้งการเป็นชะฮีดของผู้บัญชาการระดับสูงจำนวนหนึ่งในการประสบอุบัติเหตุทางเครื่องบิน โดยท่านกล่าวว่า “บรรดาเยาวชนรุ่นใหม่นั้นไม่ทราบข้อเท็จจริงของเหตุการณ์นี้ ซึ่งพวกเขาจะต้องศึกษาและทำการครุ่นคิดเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้อย่างละเอียดถี่ถ้วน แล้วพวกเขาก็จะเห็นว่า มีรัฐบาลใดบ้างหรือประเทศไหนในขณะที่ต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์อันขมขื่นและมีความโหดร้ายเช่นนี้ จะรอดพ้นออกมาได้?
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ได้ตั้งข้อสังเกตว่า “ในการเผชิญหน้ากับเหตุการณ์เหล่านี้ ซึ่งท่านอิมามโคมัยนี (ร.ฮ.) ได้ยืนหยัดอย่างภาคภูมิใจ ดุจดั่งภูเขาดะมาวันด์ (ภูเขาที่สูงตระหง่านอยู่ทางตอนเหนือของกรุงเตหะราน) ทั้งบรรดาเจ้าหน้าที่และประชาชน รวมทั้งเยาวชนทั้งหลายต่างก็ได้ยืนหยัดและสามารถเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ของประเทศทั้งหนึ่งร้อยแปดสิบองศาเลยทีเดียว จากสภาพที่ล้มเหลวให้กลายเป็นชัยชนะอย่างต่อเนื่อง กองทัพและกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม(ซิพอฮ์)ก็ได้ปราบปรามกลุ่มมุนาฟิกีนและแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของกองทัพและซิพอฮ์ ทั้งจากการทำให้ประเทศกลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติ”
ท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี ยังได้ชี้ให้เห็นถึงการมีความหวังของศัตรูในบางช่วง เนื่องจากเหตุผลความอ่อนแอของบางคนและความขาดแคลนในประเทศ โดยท่านกล่าวว่า “ศัตรูต่างมีความหวัง ทั้งในช่วงปี 1360 และหลังจากนั้นจนถึงสี่ทศวรรษ โดยที่พวกเหล่านั้นคิดว่า พวกเขากำลังจะพับเก็บพรมแห่งการปฏิวัติอิสลามและรัฐอิสลามอยู่ แต่ทว่าความหวังนี้ของพวกเขาได้กลายเป็นความสิ้นหวังและปัญหาของพวกเขาก็คือ การที่ไม่รู้ว่าพบกับสิ้นหวังนั่นเอง”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ได้เน้นย้ำว่า “ศัตรูนั้นไม่สามารถเข้าใจได้ว่า นอกจากการคิดคำนวณทางการเมืองในโลกนี้แล้ว ยังมีการคิดคำนวณอื่นๆอีกเช่นกัน ซึ่งนี่คือ ซุนนะฮ์ของพระเจ้า
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ยังได้ชี้ให้เห็นว่า มีตัวอย่างจากซุนนะฮ์นี้และกฏหมายของพระเจ้าในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ที่กล่าวถึงผลลัพธ์ของการช่วยเหลือยังศาสนาของพระองค์และผลลัพธ์ของการปฏิเสธความโปรดปรานของพระองค์ โดยท่านกล่าวเสริมว่า “อัลกุรอาน อันทรงเกียรติได้กล่าวถึงเรื่องราวที่เกี่ยวกับซุนนะฮ์ของพระเจ้า ซึ่งเราสามารถสรุปได้ว่า หากสังคมหนึ่ง สังคมใดได้ยืนหยัดในการเผชิญหน้ากับเหล่าศัตรู และมีการตะวักกุล(การมอบหมายกิจการของตนเองไว้กับพระเจ้า) ในการปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง แน่นอนว่าผลลัพธ์ก็คือ ชัยชนะและความก้าวหน้า แต่หากว่ามีความขัดแย้งระหว่างกันและกัน การแสวงหาความสุขสบายและการแสดงให้เห็นถึงความต่ำต้อย ผลลัพธ์ก็คือ ความล้มเหลว”
ท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี ยังได้เน้นย้ำให้เห็นว่า “มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบทางวิชาการที่เกี่ยวกับซุนนะฮ์ของพระเจ้า ด้วยมุมมองทางสังคมวิทยา โดยท่านผู้นำได้กล่าวสรุปในการปราศรัยของท่านว่า “ประชาชาติอิหร่านในปี 1360 ได้เข้าสู่วงโคจรหนึ่งในซุนนะฮ์ของพระเจ้า นั้นหมายถึง การทำญิฮาดและการยืนหยัด ซึ่งสามารถทำให้ศัตรูต้องพบกับความสิ้นหวัง และในวันนี้ ก็ยังคงใช้กฏเดิม นั่นก็คือ พระผู้เป็นเจ้าในปี 1401 ก็คือ พระผู้เป็นเจ้าในปี 1360 และเราก็จะต้องเพียรพยายามประยุกต์ตนเองให้เข้ากับซุนนะฮ์ของพระองค์ เพื่อที่จะได้ผลลัพท์ นั่นก็คือ ความก้าวหน้าและชัยชนะ”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ถือว่า สภาตุลาการสูงสุด คือ เสาหลักที่สำคัญและทรงอิทธิพลต่อประเทศ โดยท่านกล่าวว่า ตามพื้นฐานจากโองการอัลกุรอาน อันทรงเกียรติ กล่าวไว้ว่า หน้าที่ของรัฐบาลอิสลาม คือ การดำรงการนมาซ หมายความว่า เป็นการขยายวงกว้างทางจิตวิญญาณของการทำอะมั้ลอิบาดะฮ์ในสาธารณรัฐอิสลาม การจ่ายซะกาต (บริจาคทาน) หมายความว่า เป็นการแจกจ่ายความยุติธรรมในสังคมอิสลาม การเชิญชวนสู่การกระทำความดี และการกำชับมิให้มีการกระทำความชั่วร้าย หมายความว่า เป็นการเชิญชวนให้กระทำในการกระทำที่มีคุณค่า เช่น ความยุติธรรม ความเสมอภาค และความเป็นภราดรภาพ และการห้ามปรามมิให้มีการก่อความฉ้อฉล การสร้างความเสียหายและการเลือกที่จะปฏิบัติ ซึ่งหลักการนี้ได้เน้นย้ำในรัฐธรรมนูญอีกด้วยเช่นกันและยังถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่ความรับผิดชอบของสภาตุลาการสูงสุด”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม กล่าวเสริมว่า “หากว่าไม่มีการปฏิบัติตามหน้าที่นี้ ด้วยกับการใช้ประโยชน์จากสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น สิ่งอำนวยความสะดวกของสำนักตุลาการและอัยการสูงสุด จะถือว่าเป็นการทำลายความโปรดปรานของพระเจ้า และจะเกิดผลกระทบจากด้านนี้อีกด้วย”
ท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี ถือว่า ประธานตุลาการสูงสุด คือ บุคคลที่เป็นผู้ศรัทธา นักการปฏิวัติอิสลาม คนขยันหมั่นเพียร มีความเป็นประชาธิปไตย ห่างไกลจากการมีพิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการ การรู้จักคุ้นเคยกับมุมต่างๆของสภาตุลาการ การรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ และท่านผู้นำยังให้ข้อเสนอแนะแปดประการที่มีต่อบรรดาเจ้าหน้าที่และพนักงานของสภาตุลาการแห่งนี้
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม กล่าวถึงข้อเสนอแนะประการแรก คือ เอกสารความเปลี่ยนแปลงที่จัดขึ้นในช่วงการบริหารจัดการก่อนหน้านี้ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในการยกระดับอย่างสูงสุดของเอกสารความเปลี่ยนแปลง โดยท่านกล่าวเสริมว่า “จะต้องมีการดำเนินการตามเอกสารนี้ และมีการสร้างตัวตนและบุคลากร”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ถือว่า การปฏิบัติตามเอกสารความเปลี่ยนแปลง เป็นเหตุให้มีการป้องกันการแสดงปฏิกิริยาในการเผชิญหน้ากับการต่อต้านต่างๆโดยท่านกล่าวเสริมว่า “ประธานตุลาการสูงสุด เป็นผู้เคร่งครัดต่อการปฏิบัติตามเอกสารนี้ แต่ทว่าในระดับต่างๆ กล่าวคือ ผู้พิพากษาทั้งหมด บรรดพนักงานและผู้บริหารทั้งหลาย ก็จะต้องมีการดำเนินการอย่างจริงจัง โดยแน่นอนว่า ตามบางรายงานระบุด้วยว่า ในประเด็นนี้ยังไม่มีการปฏิบัติตามสิ่งที่ควรจะเป็น”
การต่อสู้กับการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างจริงจัง คือ ข้อเสนอแนะประการที่สองของท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี ที่มีต่อบรรดาเจ้าหน้าที่ฝ่ายตุลาการ
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ยังได้กล่าวเน้นย้ำถึงคำพูดของประธานสภาตุลาการสูงสุด บนพื้นฐานการจัดลำดับความสำคัญในการต่อสู้กับการทุจริตภายในสภาตุลาการ โดยท่านได้ตั้งข้อสังเกตว่า “ส่วนมากของบรรดาผู้พิพากษา เป็นบุคคลที่มีเกียรติ มีความบริสุทธิ์ ความสูงส่ง เป็นผู้ศรัทธา และมีความขยันหมั่นเพียร แต่ก็มีหลายคนที่ก่อทุจริต ทั้งยังสร้างความเสียหายให้กับผู้อื่น ซึ่งแน่นอนว่า จะต้องมีการต่อสู้กับการทุจริต ซึ่งถือว่าเป็นภารกิจหลักในการต่อกรกับโครงสร้างที่ทุจริตและการบ่อนทำลายพวกเขาเองอีกด้วย
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ยังได้เน้นย้ำถึงการเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางความรู้ด้านตุลาการและการป้องกันจากการออกคำพิพากษาที่อ่อนแอหรือการผิดเพี้ยน ทั้งในข้อเสนอแนะอีกประการหนึ่ง คือ การให้ขวัญกำลังใจต่อบรรดาผู้พิพากษาและเจ้าหน้าที่ทั้งหลาย ผู้ทรงเกียรติและผู้ที่ขยันหมั่นเพียร
อย่าได้ล่าช้าจากการปฏิบัติและการกระทำทางด้านกฏหมายของสำนักตุลาการ ถือเป็นอีกประการหนึ่งของข้อเสนอแนะของท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี ที่มีต่อบรรดาเจ้าหน้าที่ฝ่ายตุลาการ ซึ่งท่านได้กล่าวในประเด็นนี้ว่า “ยกตัวอย่างเช่น อัยการสูงสุดนั้น มีหน้าที่ทางด้านกฏหมายในการให้สิทธิของสาธารณชน ซึ่งจะต้องมีการสังเกตการณ์อย่างครบถ้วน และการออกห่างจากการใช้ความรู้สึกและการใช้เพียงสโลแกนเพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดสิทธิของสาธารณชน”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ถือว่า การป้องกันอาชญากรรม ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการกระทำที่สำคัญของสำนักตุลาการ โดยท่านกล่าวว่า “ยกตัวอย่างเช่น ความจำเป็นในการปฏิบัติตามหน้าที่ทางกฏหมาย จากการกำหนดเจ้าของที่ดินในเขตเมืองและเขตชุมชนต่างๆ เช่น การป้องกันจากการถูกยึดที่ดินและการรุกล้ำพื้นที่ภูเขา
ซึ่งถือว่า เป็นอาชญากรรมหนึ่ง”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ได้เน้นย้ำในข้อเสนอแนะประการที่หก กล่าวคือ การปรับความสัมพันธ์ของสภาตุลาการสูงสุดและเจ้าหน้าที่ฝ่ายตุลาการ โดยท่านกล่าวว่า “จะต้องมีการระมัดระวังและการตรวจสอบพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ทั้งหลาย เพื่อที่จะไม่ให้สิทธิของผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นการพูดเกินความจริงหรือยังเป็นความรุนแรง ในขณะที่สำนักตุลาการก็ไม่ควรที่จะได้รับอิทธิพลจากเจ้าหน้าที่ แต่ทว่าควรมีการจัดการกับปัญหาต่างๆอย่างอิสระ ซึ่งแน่นอนว่า ความคิดเห็นที่เชี่ยวชาญของบรรดาเจ้าหน้าที่ก็ไม่ควรที่จะละเลยอีกด้วยเช่นกัน”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ได้กล่าวเสริมในประเด็นนี้ว่า “ข้อร้องเรียนอย่างหนึ่งของบรรดาเจ้าหน้าที่สำนักตุลาการ คือ การละทิ้งบางคดี เนื่องจากพบว่ามีข้อบกพร่องทางกฎหมาย ในขณะที่ช่องว่างนี้ ก็ควรที่จะเติมเต็มด้วยกับการทำให้กฎหมายนั้นมีความสมบูรณ์”
ในข้อเสนอแนะอีกประการต่อไป ท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี ได้ชี้ให้เห็นถึงความรับผิดชอบของสภาตุลาการสูงสุดที่มีต่อความมั่นคงทางจิตใจของประชาชน โดยท่านกล่าวว่า “ความมั่นคงทางจิตใจ ถือเป็นสิทธิของสาธารณชนอีกประการหนึ่ง และสำนักตุลาการ ก็จะต้องป้องกันความวิตกกังวลและการบ่อนทำลายสติปัญญาของประชาชนด้วยกับการกุข่าวลือ การเปิดเผยความเท็จ และการเผยแพร่ข้อความที่น่ากลัวของบุคคลที่เฉพาะเจาะจงหรือที่ไม่รู้จักโดยผ่านสื่อต่างๆและสื่อสังคมออนไลน์”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ได้กล่าวถึงข้อเสนอแนะประการที่แปดและถือเป็นประการสุดท้ายโดยท่านได้ชี้ให้เห็นถึงการเปิดคดีความที่สำคัญและการมีความคิดเห็นที่หลากหลายของสาธารณชน เช่น ปัญหาของโรงงาน หรือการใช้ประโยชน์ที่ผิดกฏหมาย โดยท่านได้เน้นย้ำว่า “บาดแผลของคดีความต่างๆจะถูกเปิดเผยสู่สายตาของสาธารณชนและก็ไม่ควรที่จะเปิดอยู่ต่อไป ซึ่งทุกคดีความจะต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเป็นที่สิ้นสุดอีกด้วย”
ในช่วงท้ายสุดของการปราศรัยของท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ท่านถือว่า ภารกิจของสำนักตุลาการ เป็นภารกิจที่มีความลำบากอย่างมากที่สุด โดยท่านกล่าวว่า “แน่นอนว่าหากพวกท่านทั้งหลายปฏิบัติภารกิจนี้เพื่อพระเจ้าและด้วยการชี้นำของพระองค์ พวกท่านก็จะได้รับรางวัลอันยิ่งใหญ่จากพระองค์อีกด้วยเช่นกัน”
ในช่วงเริ่มต้นของการพบปะกันครั้งนี้ ท่านฮุจญตุลอิสลาม วัลมุสลิมีน มุฮ์ซินี อิเญห์อี ประธานตุลาการสูงสุด ได้นำเสนอรายงานเกี่ยวกับการดำเนินการของสำนักตุลาการในช่วงที่ผ่านมา โดยเขาได้เน้นย้ำถึงความสัมพันธ์กับประชาชนทั้งหลายที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งการเสริมสร้างปฏิสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่นๆ และความพยายามที่จะบรรลุเอกสารความเปลี่ยนแปลงของสำนักตุลาการ การก้าวกระโดดจากการใช้เทคโนโลยีใหม่และทันสมัยในการบริการของสำนักตุลาการ การสนับสนุนจากการผลิตและการขจัดอุปสรรคต่างๆ การให้บริการฟรีของสำนักตุลาการบางส่วนในเขตชุมชนที่ด้อยโอกาส และการต่อสู้อย่างจริงจังกับการทุจริตคอร์รัปชั่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในสำนักตุลาการ การจัดลำดับความสำคัญของคดีความที่มีผู้ร้องเรียนมากที่สุดและมีความสำคัญต่อสายตาของสาธารณชน การตรวจสอบที่เข้มข้นมากขึ้นบนการดำเนินการตามกฏหมายอย่างถูกต้องและข้อบังคับที่จำเป็นต้องดำเนินการ และเช่นเดียวกันในการติดตามอย่างต่อเนื่อง ตลอดจน การปรับปรุงสภาพค่าครองชีพของบรรดาพนักงานและการเสริมสร้างฐานงบประมาณของสภาตุลาการสูงสุด