ท่านผู้นำการปฏิวัติอิสลามประกาศใช้ แผนนโยบายทั่วไปด้าน "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”
ความเพียรพยายามและความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องโดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นศูนย์กลางทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับโลก / ส่งเสริมฐานะและปรับปรุงวิถีชีวิตของอาจารย์ นักวิจัยและนักวิชาการและการจ้างงานของผู้สำเร็จการศึกษา
ท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอีผู้นำการปฏิวัติอิสลาม ได้ประกาศใช้ แผนนโยบายทั่วไปด้าน "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ซึ่งอาศัยอำนาจตามมาตรา ที่หนึ่ง ข้อที่ 110 และหลังจากที่ได้ปรึกษาหารือกับคณะมัจญมะอ์ ตัสคีส มัศลาฮาเตนีศอม
เนื้อความของนโยบายทั่วไปด้าน “ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ที่แจ้งให้กับคณะบริหารทั้งสามฝ่ายและ มัจญมะอ์ ตัสคีส มัศลาฮาเต นีศอม มีดังนี้
بسم الله الرحمن الرحيم
แผนนโยบายทั่วไปด้าน "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ( ระบบการศึกษาชั้นสูง การวิจัยและเทคโนโลยี)
1 ความเพียรพยายามและความมุ่งมั่นทางวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับโลก โดยเน้นย้ำ ในประเด็น
1.1 การสร้างองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ การพัฒนานวัตกรรมและและการพัฒนาเชิงทฤษฎี
1.2 การยกระดับฐานะของประเทศในระดับโลกด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และทำให้อิหร่านกลายเป็นขั้วใหม่ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโลกอิสลาม
1.3 การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานและการวิจัยพื้นฐาน
1.4 วิวัฒนาการและยกระดับการพัฒนาด้านมนุษย์ศาสตร์ โดยเฉพาะการทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในหลักคำสอนทางศาสนาและหลักการพื้นฐานของการปฏิวัติอิสลาม ด้วยการ
เสริมสร้างสถานะและฐานะภาพของวิทยาศาสตร์ สรรหาบุคคลที่มีความสามารถและแรงจูงใจ ปรับปรุงและบูรณาการสาระของตำรา วางโปรแกรมและวิธีการสอน และการปรับปรุงเชิงคุณภาพและปริมาณของสถาบันและศูนย์การวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1.5 การบรรลุซึ่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง โดยการกำหนดแผนงานและนโยบายพิเศษ
2 เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและโครงสร้างของการศึกษาและการวิจัยในประเทศ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของวิสัยทัศน์และความเจริญรุ่งเรืองทางวิทยาศาสตร์ โดยเน้นในประเด็น
2.1 การจัดการความรู้และบูรณาการการวิจัยและนโยบาย การวางแผนเชิงกลยุทธ์และการตรวจสอบในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การพัฒนาในตัวชี้วัดอย่างต่อเนื่อง และการอัปเดตทางวิทยาศาสตร์โดยรวมของประเทศ โดยคำนึงถึงการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และทางเทคนิคในระดับภูมิภาคและระดับโลก
2.2 การปฏิรูปการรับสมัครนักศึกษา และใส่ใจเป็นพิเศษในความสามารถและความสนใจของนักเรียนนักศึกษาในการเลือกสาขาการศึกษา และการรับเพิ่มนักศึกษาในหลักสูตรบัณฑิตศึกษา
2.3 เสริมสร้างกฎระเบียบและการกำกับดูแลระบบ การประเมินการตรวจสอบและการจัดอันดับในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2.4 เสริมสร้างกฎระเบียบของระบบสถิติแห่งชาติ เสริมสร้างระบบข้อมูลเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การศึกษาวิจัยและเทคโนโลยีโดยรวมและมีประสิทธิภาพ
2.5 สนับสนุนการจัดตั้งและการพัฒนาเมืองและสวนสาธารณะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2.6 การกระจายความเท่าเทียมกันของโอกาสและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการศึกษาและการวิจัยในสถาบันการศึกษาชั้นสูงทั่วประเทศ
2.7 การสรรหาปัญญาชน การอบรมสั่งสอนผู้ที่มีศักยภาพและความสามารถที่โดดเด่น การรักษาและดึงดูดทรัพยากรมนุษย์
2.8 เพิ่มงบประมาณการศึกษาวิจัยอย่างน้อย 4% ของ จีดีพี ภายใน โดยสิ้นสุดปี 1404 โดยเน้นการใช้ประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรและผลผลิตที่ดีขึ้น
3 กำกับการดูแลรากฐาน ค่านิยม จริยธรรม มาตรฐาน และระบบการศึกษาชั้นสูง การวิจัยและเทคโนโลยีและผลสัมฤทธิ์ของมหาวิทยาลัยอิสลาม โดยเน้นในประเด็น
3.1 ความพยายามที่จะส่งเสริมหลักการอบรมตัรบียะห์อิสลามศึกษาควบคู่กับการศึกษาและการวิจัย ส่งเสริมสุขภาพทางด้านจิตวิญญาณของนักศึกษาวิจัย การรับรู้ สันทัดและความมีชีวิตชีวาทางการเมืองของพวกเขา
3.2 การฝึกอบรมครูและนักเรียนนักศึกษาให้มีความเชื่อในศาสนาอิสลาม มีศีลธรรม ปฏิบัติตามบทบัญญัติของอิสลาม ยึดมั่นในการปฏิวัติอิสลามและมีความรักความสนใจในการพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ
3.3 รักษากฎระเบียบหลักคำสอนของอิสลาม คุณค่าทางวัฒนธรรมและสังคม และใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4 เสริมสร้างความมุ่งมั่นแห่งชาติ และเพิ่มความเข้าใจของสังคมที่มีต่อความสำคัญในการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4.1 เสริมสร้างและขยายการเคลื่อนไหวของวาทกรรมทางการผลิตวิทยาศาสตร์และการผลิตซอฟแวร์ในประเทศ
4.2 ส่งเสริมจิตวิญญาณของความสุข ความหวัง ความมั่นใจในตนเอง นวัตกรรมในระบบ ความกล้าหาญทางวิทยาศาสตร์ การทำงานของชุมชนและมีจิตสาธารณะ
4.3 จัดตั้งโต๊ะเสวนาเชิงทฤษฎี เสริมสร้างวัฒนธรรมทางธุรกิจและฐานความรู้ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการวิพากษ์ความคิด และการเปิดกว้างทางวิทยาศาสตร์
4.4 ส่งเสริมฐานะและปรับปรุงวิถีชีวิตของอาจารย์ นักวิจัยและนักวิชาการและการจ้างงานของผู้สำเร็จการศึกษา
4.5 ฟื้นฟูประวัติศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมของชาวมุสลิมและการเรียนรู้แบบอย่างจากบุคคลที่มีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4.6 การพัฒนาของการสนับสนุนอย่างมีเป้าหมายทางวัตถุและจิตวิญญาณให้กับปัญญาชน และผู้สร้างนวัตกรรมในด้านการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
5 เสริมสร้างการวิวัฒนาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษาวิจัยชั้นสูง เทคโนโลยีและภาคส่วนอื่น ๆ โดยเน้นย้ำในประเด็น
5.1 เพิ่มการมีส่วนร่วมของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในทางเศรษฐกิจและรายได้ของประชาชาติ เพิ่มอำนาจแห่งชาติและปรับปรุงประสิทธิภาพ
5.2 การสนับสนุนทางการเงินและทางจิตวิญญาณของกระบวนการของการแปลงความคิดที่เป็นผลิตภัณฑ์และเพิ่มส่วนแบ่งของการผลิต และการบริการที่อยู่บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย และเทคโนโลยีภายใน โดยมีเป้าหมายของการบรรลุหุ้น 50% ของจีดีพี
5.3 เสริมสร้างความเข้มแข็งและความลุ่มลึกเชิงคามสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษาศาสนากับมหาวิทยาลัยและเสริมสร้างความสัมพันธ์เชิงกลยุทธิ์อย่างต่อเนื่อง
5.4 ควบคุมความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษาและการจ้างงานและการปรับระดับและสาขาวิชา ด้วยแผนครอบคลุมด้านวิทยาศาสตร์โดยรวมของประเทศ และความต้องการของการผลิตและการจ้างงาน
5.5 ระบุลำดับความสำคัญของการศึกษาและการวิจัยโดยคำนึงถึงจุดเด่น ศักยภาพและความสามารถและความต้องการของประเทศ และข้อบังคับในการบรรลุซึ่งเป็นที่หนึ่งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับภูมิภาค
5.6 สนับสนุนการคุ้มครองสิทธิทางปัญญาและจิตวิญญาณ และสร้างความสมบูรณ์ในโครงสร้างขั้นพื้นฐาน กฎหมายและกฎระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
5.7 เพิ่มบทบาทและการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในด้านการกุศลและการอุทิศตนในด้านนี้
5.8 การพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายการสื่อสารระดับชาติและระหว่างประเทศระหว่างมหาวิทยาลัย ศูนย์วิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยของบริษัทในประเทศและต่างประเทศ ในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม และขยายความร่วมมือในทุกระดับของภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนโดยเฉพาะในประเทศอิสลาม
6 ขยายความร่วมมือและการปฏิสัมพันธ์ในทุกระดับของภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนโดยเฉพาะกับชาติต่างๆ และ ศูนย์เทคนิคในระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโลกอิสลาม พร้อมกับการเสริมสร้างความเป็นอิสระของประเทศ โดยเน้นย้ำในประเด็น
6.1 การพัฒนาอุตสาหกรรมและการบริการที่วางอยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ และสนับสนุนการผลิตและการส่งออกของความรู้พื้นฐาน โดยอาศัยเทคโนโลยีท้องถิ่นในประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการได้เปรียบและความสามารถที่จะปฏิรูปการนำเข้าและส่งออกของประเทศ
6.2 ความพยายามที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีและความรู้ในการออกแบบและสร้างกำลังการผลิตในประเทศ โดยอาศัยตลาดระดับชาติในการบริโภคสินค้านำเข้า
6.3 ใช้ความสามารถทางวิทยาศาสตร์และทางเทคนิคของชาวอิหร่านในต่างประเทศ และดึงดูดผู้เชียวชาญและนักวิจัยที่โดดเด่นและนักวิจัยจากประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะในประเทศอิสลามตามความต้องการ
6.4 การทำให้อิหร่านกลายเป็นศูนย์กลางของเอกสารทางวิทยาศาสตร์และดึงดูดผลงานด้านการวิจัยของนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมจากประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประเทศในโลกอิสลาม