ท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอีผู้นำการปฏิวัติอิสลาม ได้ประกาศใช้ “แผนนโยบายเศรษฐกิจแบบยั่งยืน” ซึ่งอาศัยอำนาจตามมาตรา ที่หนึ่ง ข้อที่ 110 และหลังจากที่ได้ปรึกษาหารือกับคณะมัจญมะอ์ ตัสคีส มัศลาฮาเต นีศอม พร้อมกับกล่าวย้ำว่า การปฏิบัติตามวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีอัตลักษณ์และพื้นฐานมาจากวัฒนธรรมการปฏิวัติ และวัฒนธรรมอิสลาม เป็นบ่อเกิดแห่งความพ่ายแพ้และการร่นถอยของศัตรูในสงครามจิตวิทยาเชิงเศรษฐกิจที่มีเหนือประชาชาติอิหร่าน ภาวะวิกฤติที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก จะก่อให้เกิดแรงบันดาลใจในแบบอย่างและต้นแบบของระบอบเศรษฐศาสตร์อิสลามให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น อีกทั้งเป็นการปูพื้นฐานและโอการที่เหมาะสมในการสร้างบทบาทที่โดดเด่นขึ้นมาของพี่น้องประชาชนและบรรดาผู้ประกอบการในการบังเกิดซึ่งวีรกรรมแห่งเศรษฐกิจอย่างแท้จริง
เนื้อหาของแผนนโยบายจากท่านผู้นำสูงสุด ถูกส่งยังเหล่าคณะผู้บริหารศาลตุลาการและประธานคณะมัจญมะอ์ ตัสคีส มัศลาฮาเต นีศอม ซึ่งมีใจความดังนี้
بسماللّه الرحمن الرحيم
ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮ์ พระผู้ทรงเมตตา และทรงกรุณาปรานียิ่งเสมอ
อิหร่านแห่งอิสลามเปี่ยมล้นด้วยศักยภาพทางปัญญา จิตวิญญาณ และวัตถุ มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ที่หลากหลาย และมีโครงการสร้างขั้นพื้นทางที่กว้างขวาง และที่สำคัญกว่าสิ่งอื่นใด มีกำลังคนที่มีคุณภาพ ซื่อสัตย์ และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเพื่อความเจริญรุ่งเรือง และหากมีการปฏิบัติตามแบบอย่างของวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่มีอัตลักษณ์และพื้นฐานมาจากวัฒนธรรมการปฏิวัติและวัฒนธรรมอิสลามแล้ว นั้นหมายถึง เศรษฐกิจแบบยั่งยืน ไม่เพียงแต่จะสามารถคลี่คลายปมอุปสรรค์ปัญหาเศรษฐกิจเท่านั้น แม้แต่บรรดาศัตรูที่กำหนดสงครามเศรษฐกิจเต็มรูปแบบกับอิหร่าน ก็จะต้องล้มเหลวและร่นถอยในการเชิญหน้ากับการยืนหยัดของประชาชาติอิหร่านผู้ยิ่งใหญ่อย่างแน่นอน ในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง ไร้เสถียรภาพ ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอกที่อยู่เหนือการควบคุมและความสามารถของเรา อาทิเช่น วิกฤตทางการเงิน เศรษฐกิจ และการเมือง และ..... ซึ่งนับวันยิ่งเพิ่มมากขึ้น และจะสามารถเกิดเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นได้ด้วยการปกปักษ์รักษาความสำเร็จของประเทศในด้านต่างๆที่หลากหลายและการพัฒนาสู่การเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ การบังเกิดซึ่งอุดมการณ์ หลักการตามรัฐธรรมนูญ และแผนวิสัยทัศน์ยี่สิบปี เศรษฐกิจที่พึ่งพาอาศัยพื้นฐานแห่งความรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การปูฐานแห่งการสร้างความยุติธรรมทั้งภายในและนอกประเทศ พลวัตและก้าวล้ำ อีกทั้งเป็นต้นแบบของระบอบเศรษฐศาสตร์อิสลาม
วันนี้หลังจากที่ทำการพิจารณาไตร่ตรอง และหลังจากทำการปรึกษาหารือกับคณะมัจญมะอ์ ตัสคีส เนศอม แล้ว ก็ได้มีการร่างแผนนโยบายเศรษฐกิจแบบยั่งยืน อันเป็นการสานต่อและเติมเติมนโยบายที่ผ่านมาให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะนโยบายรวมตามกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตราที่ 44 ที่มีวิสัยทัศน์เช่นนี้ ซึ่งจำเป็นต้องมีการประกาศใช้เพื่อให้ดำเนินการขับเคลื่อนไปในทิศทางเศรษฐกิจที่ถูกต้องเพื่อก้าวไปสู้เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่และสูงส่งในที่สุด เป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับเหล่าคณะผู้บริหารประเทศ ต้องมีการปฏิบัติในทันทีและมีการกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนชัดเจน และด้วยการเตรียมความพร้อมกฎเกณฑ์และกฎระเบียบที่จำเป็นและร่างแผนงานในด้านภาคส่วนต่างๆ เพื่อเป็นการปูฐาน และโอกาสที่เหมาะสมเพื่อสร้างบทบาทให้กับประชาชนและบรรดาผู้ประกอบการทั้งหลายได้สำแดงในการต่อสู้ ญิฮาดเชิงเศรษฐกิจอันศักดิ์สิทธิ์ครั้งนี้ และด้วยความโปรดปรานของพระผู้อภิบาล ประชาชาติผู้ยิ่งใหญ่ของสาธารณรัฐอิสลาม จะสามารถสร้างวีรกรรมทางเศรษฐกิจให้กับชาวโลกได้ประจักษ์ เหมือนกับการสร้างวีรกรรมทางการเมืองมาแล้ว
ขอวิงวอนให้พระองค์ทรงประทานเตาฟีกให้กับทุกท่านได้ประสบความสำเร็จในการงานที่สำคัญและยิ่งใหญ่ครั้งนี้ด้วยเถิด
ซัยยิด อาลี คาเมเนอี
18 กุมภาพันธ์
بسماللهالرحمنالرحيم
แผนนโยบายรวมของเศรษฐกิจแบบยั่งยืน ซึ่งร่างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายให้เกิดการเจริญเติบโตแบบพลวัตและเพิ่มดัชนีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ และเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์แห่งวิสัยทัศน์ยี่สิบปี จึงขอประกาศใช้ นโยบายเศรษฐกิจแบบยั่งยืน โดยมุ่งเน้นพัฒนาเชิงความมุ่งมั่น การผ่อนปรน โอกาส การผลิต กระบวนการผลิตภายใน ความก้าวหน้า ซึ่งมีแผนนโยบายดังต่อไปนี้
1 เสริมสร้างปัจจัยเงื่อนไข สังเคราะห์ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดกระบวนการอย่างเป็นรูปธรรม ในด้านทรัพยากรทางการเงิน และทรัพยากรมนุษย์และวิทยาศาสตร์ในประเทศ เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการและเพื่อเพิ่มให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด ในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ด้วยการเอื้ออำนวยความสะดวกและส่งเสริมให้ความร่วมมือของประชาชน ซึ่งเน้นย้ำในการยกระดับพัฒนาและส่งเสริมรายได้ โดยเฉพาะกลุ่มบุคคลที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง
2 แผนเศรษฐกิจมวลรวมแห่งชาติ การดำเนินการ และดำเนินการด้านวิทยาศาสตร์ในเชิงองค์รวมของประเทศ และการจัดระเบียบนวัตกรรมแห่งชาติเพื่อส่งเสริมและยกระดับสถานะภาพของประเทศในเวทีระดับนานาชาติ การเพิ่มอัตราการผลิต และการส่งออกสิ้นค้า เพื่อดำเนินการตามเศรษฐกิจมวลรวมแห่งชาติและเพื่อประสบความสำเร็จเป็นที่หนึ่งในด้านเศรษฐกิจระดับภูมิภาค
3 กำหนดวางกรอบการเจริญเติบโตในด้านเศรษฐกิจ ด้วยการส่งเสริมปัจจัยการผลิต สร้างประสิทธิภาพให้กับพนักงาน ส่งเสริมความเข็มแข็งในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ สร้างสถานประกอบการเพื่อแข่งขันในระดับจังหวัดและภูมิภาค ด้วยการนำใช้ศักยภาพ ความสามารถที่หลากหลายเชิงยุทธ์ศาสตร์ที่โดดเด่นของภูมิภาคในประเทศ
4 การดำเนินการใช้เงินอุดหนุนที่กำหนดเป้าหมายในทิศทางเพิ่มการผลิต การจ้างงานและผลผลิต ลดความเข็มของพลังงาน และส่งเสริมตัวชี้วัดความยุติธรรมทางสังคม
5 จัดหุ่นส่วนที่ยุติธรรมในปัจจัยตั้งแต่กระบวนการผลิตถึงกระบวนการบริโภคที่สอดคล้องกับบทบาทของพวกเขาในการสร้างมูลค่า โดยเฉพาะการมีหุ่นส่วนของทรัพยากรมนุษย์ ผ่านการยกระดับทักษะการศึกษา ความสามารถ ความชำนาญการ ความคิดสร้างสรรค์ของผู้ประกอบการและประสบการณ์
6 เพิ่มการผลิตในประเทศของปัจจัยการผลิตและสินค้าโภคภัณฑ์ (โดยเฉพาะรายการสิ้นค้าที่นำเข้า)และให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์เชิงกลยุทธ์และการบริการ และต้นกำเนิดของความหลากหลายในการจัดหาสินค้าที่นำเข้า โดยมีจุดมุ่งหมายในการลดการพึ่งพาประเทศที่จำกัด และเฉพาะเจาะจง
7 คุ้มครองผลิตภัณท์อาหารและสุขภาพและการสร้างเงินสำรองทางยุทธศาสตร์ โดยเน้นไปที่การเพิ่มคุณภาพและปริมาณของการผลิต (วัตถุดิบและสินค้า)
8 การบริหารจัดการด้านบริโภคโดยเน้นนโยบายทั่วไปของการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริโภค และส่งเสริมการใช้สินค้าในประเทศด้วยการวางแผน สำหรับการปรับปรุงการผลิตและการแข่งขัน
9 การปฏิรูปและการเสริมสร้างระบบการเงินพหุภาคี โดยมีวัตถุประสงค์ของการตอบสนองต่อความต้องการของเศรษฐกิจของประเทศ เสถียรภาพเศรษฐกิจของประเทศและความเป็นผู้นำในการเสริมสร้างภาคเศรษฐกิจในภาคส่วนข้อเท็จจริง
10 สนับสนุนการส่งออกพหุภาคีของสินค้าและบริการในสัดส่วนถึงค่าที่กำหนดเป้าหมายเพิ่ม และเทคโนโลยีการแลกเปลี่ยนบวกสุทธิผ่านวิธีการ
- อำนวยความสะดวกในการพัฒนาของกฎระเบียบและแรงจูงใจที่จะจำเป็น
- การขยายตัวของการให้บริการการค้าต่างประเทศและการขนส่งและโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น
- สนับสนุนให้มีการลงทุนจากต่างประเทศและการส่งออก
- วางแผนการผลิตเพื่อการส่งออกแห่งชาติ การสร้างตลาดใหม่และความหลากหลายของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศเพื่อนบ้านและในภูมิภาค
- ใช้กลไกการค้าแลกเปลี่ยน หากจำเป็นที่จะต้องอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยน
- วางแผนขั้นตอนการผลิตแห่งชาติที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการในการส่งออก จัดสัดส่วนแบ่งของอิหร่านในตลาดเป้าหมายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
11 พัฒนาและขยายพื้นที่ปฏิบัติและเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อที่จะถ่ายโอนเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า กระจายความสะดวกในการพัฒนาและการผลิต การส่งออกของสินค้าและบริการและตอบสนองความต้องการและทรัพยากรทางการเงินของพวกเขาจากต่างประเทศ
12 เพิ่มความต้านทานและลดความเสี่ยงของเศรษฐกิจ ผ่านวิธีการ
- -การพัฒนาความเชื่อมโยงและความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ และความร่วมมือกับประเทศในภูมิภาคและทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศเพื่อนบ้าน
-ใช้การเจรจาทางการทูตในการสนับสนุนเป้าหมายทางเศรษฐกิจ
-ใช้ศักยภาพขององค์การระหว่างประเทศและระดับภูมิภาค
-
13 การรับมือกับความเสี่ยงที่รายได้จากการส่งออกน้ำมันและก๊าซผ่าน วิธีการ
-เลือกลูกค้าเชิงกลยุทธ์
-สร้างความหลากหลายของวิธีการในการขาย
-ผลักดันภาคส่วนเอกชนในการซื้อขาย
-เพิ่มการส่งออกก๊าซ
-เพิ่มการส่งออกกระแสไฟฟ้า
-การส่งออกปิโตรเคมีเพิ่มขึ้น
-การส่งออกที่เพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
-
14 เพิ่มเงินสำรองทางยุทธศาสตร์ของน้ำมันและก๊าซ เพื่อที่จะมีอิทธิพลต่อการผลิตน้ำมันและก๊าซในตลาดโลก ให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาและการพัฒนากำลังการผลิตน้ำมันและก๊าซ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดกลาง
15 เพิ่มมูลค่าเพิ่มโดยใช้น้ำมันและก๊าซห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด (อยู่บนพื้นฐานของดัชนีความเข้มพลังงาน ) และเพิ่มการส่งออกของกระแสไฟฟ้าของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ด้วยการให้ความสำคัญกับการเก็บรักษาต้นทุนทรัพยากร
16 บริหารค่าใช้จ่ายงบประมาณของประเทศอย่างประหยัด โดยเน้นที่วิวัฒนาการของโครงสร้าง ขนาดตรรกะของรัฐบาลและกำจัดระบบคู่ขนาน และค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและสิ้นเปลือง
17 การปฏิรูปโดยการเพิ่มส่วนแบ่งของรายได้จากภาษีรายได้ของรัฐ
18 เพิ่มส่วนแบ่งในทรัพยากรกองทุนเพื่อการพัฒนาแห่งชาติ จากการส่งออกน้ำมันและก๊าซ เพื่อลดการพึ่งพางบประมาณน้ำมัน
19 ความโปร่งใสและมาตรการป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจและ กิจกรรมและพื้นที่ของการทุจริตคอรัปชั่นในภาคการเงิน การค้า และถือหุ้น
20 การเสริมสร้างวัฒนธรรมญิฮาด ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม การผลิตความมั่งคั่ง การผลิตประสิทธิภาพ การเป็นผู้ประกอบการลงทุนและการจ้างงาน และมอบเกียติบัตรแก่บุคคลที่มีความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจและบุคคลที่มีการบริการที่โดดเด่นในด้านนี้
21 อธิบายมุมมองความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ และวาทกรรมของสิ่งเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวทีของวิทยาศาสตร์ การศึกษาและสื่อ ให้กลายเป็นวาทกรรมองค์รวมและเป็นที่แพร่หลายแห่งชาติ
22 รัฐมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามนโยบายเศรษฐกิจโดยรวมบนพื้นฐานของความแข็งแรง มีการประสานและระดมแบบพลวัตของทรัพยากรทั้งหมด และพึ่งกระทำเช่นนี้ให้เป็นกิจวัตร โดยอาศัย รูปแบบ
-การสืบค้นและการใช้ความสามารถทางวิทยาศาสตร์ เทคนิคและเศรษฐกิจ เพื่อเข้าถึงความพึงพอใจและใช้มาตรการที่เหมาะสม
-ตรวจสอบและติดตามแผนการคว่ำบาตร และเพิ่มงบประมาณค่าใช้ในการเผชิญหน้ากับศัตรู
-การบริหารจัดการความเสี่ยงทางการเงิน ผ่านแผนการตอบสนองโดยการใช้ความคิดสร้างสรรค์ที่สามารถนำมาใช้งานได้อย่างรวดเร็วและทันเวลา ในการเผชิญหน้ากับภัยคุกคามและการทุจริตคอรัปชั่นทั้งจากภายในประเทศและต่างประเทศ
-
23 การดำเนินงานที่โปร่งใสแลราบรื่นของระบบการจัดจำหน่าย การกำหนดราคา และวิธีการปรับปรุงการกำกับดูแลตลาด
24 เพิ่มมาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์ในประเทศทั้งหมดและการส่งเสริม