ท่านอยาตุลลอฮ์ ซัยยิด อาลี คาเมเนอี ผู้นำการปฏิวัติอิสลาม ได้ประกาศใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตราที่หนึ่ง ข้อที่ 110 ในหมวดหมู่ นโยบายรวม “ การปฏิรูประบบการเรียนและการศึกษาในประเทศ” ภายหลังจากที่ได้มีการประชุมกับมัจญฺมะอฺมัศลีฮิต นิศอม (สภาปฏิรูปความเหมาะสมแห่งชาติ)
เนื้อหาของ นโยบายรวม “ การปฏิรูประบบการเรียนและการศึกษาในประเทศ” ได้ส่งยังหัวหน้าผู้บริหารของสามฝ่าย และประธานมัจญฺมะอฺมัศลีฮิต นิศอม ซึ่งมีใจความดังนี้
بسم الله الرحمن الرحیم
๑ – การปฏิรูประบบการเรียนการศึกษาต้องวางอยู่บนพื้นฐานของหลักปรัชญา การอบรมสั่งสอนและการตัรบียะห์ของอิสลาม เพื่อบรรลุซึ่งเป้าหมายแห่งชีวิตที่สงบสุข(ทั้งในวิถีชีวิตส่วนตัว สังคม เป็นไปตามครรลองของอิสลาม) และการเจริญเติบโตพัฒนา และเปล่งบานแห่งสติปัญญาความสามารถแห่งจิตวิญญาณอันดั่งเดิม และเป็นการยกระดับคุณภาพในด้านสถาบันแห่งโลกทัศน์ วิชาการ ความสามารถ การตัรบียะห์ และสุขภาพพลานามัยทั้งกายและใจของนักเรียนนึกศึกษา ด้วยการตอกย้ำในการทำลายล้างรากฐานแห่งการไร้การศึกษา อีกทั้งการตัรบียะห์มนุษย์ผู้ศรัทธา ผู้มีความยำเกรง หล่อหลอมศีลธรรมและจริยธรรมของอิสลาม มีความทะเยอทะยาน และมีความหวังอันยาวไกล ความคิดสร้างสรรค์ ร่าเริง ใฝ่หาสัจธรรม มีความเป็นเสรีชน มีความรับผิดชอบในภาระหน้าที่ เคารพกฎหมาย ใฝ่หาความยุติธรรม ฉลาดรอบรู้ภูมิปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ รักชาติเกิด ต่อต้านการกดขี่ ถือกรรมสิทธิ์ร่วม เชื่อมั่นในตนเอง และมีความเสียสละ
๒ – ยกระดับฐานะระบบการเรียนและการศึกษา ให้เทียบเท่าองค์กรที่สำคัญของหน่วยงานและองค์กรอบรมทัพยากรมนุษย์ และสร้างทุนทางสังคม และรับผิดชอบดำเนินการตามนโยบายที่ได้รับการอนุมัติ และชี้นำตรวจสอบและประเมินผลสถาบันการศึกษาระดับชั้นต่างๆ (อนุบาล ประถมศึกษา จนถึงระดับมหาลัย)ในฐานะที่เป็นรัฐบาลต้องเป็นตัวกลางในการส่งเสริมพัฒนาและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานและองค์กรต่างๆ
๓- บูรณาการและยกระดับทัพยากรทางการศึกษาในฐานะเป็นจุดศูนย์กลางของการเปลี่ยนแปลงในระบบการเรียนการศึกษาของประเทศ และปรับปรุงการจัดการ การบริหารทัพยากรมนุษย์ โดยมุ่งเน้นในประเด็น
๓.๑ - ยกระดับคุณภาพระบบการอบรมครูและเพิ่มพูนคุณภาพอย่างต่อเนื่องและความสามารถทางวิชาการ และอาชีพ และการอบรมนักวัฒนธรรม การจัดทำหลักสูตรการศึกษาที่ทันยุคสมัยตามสถาบันและมหาลัยครู และวิธีการสอนและการเรียนรู้สำหรับครูเพื่อฝึกวิชาชีพครูที่มีแรงบันดาลใจ มีประสิทธิภาพ เคร่งครัดในศาสนา สร้างสรรค์และมีคุณภาพ
๓.๒ - ทบทวนวิธีการดึงดูด การตัรบียะห์ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมจากทัพยากรมนุษย์ที่จำเป็นในเรื่องการศึกษา และการวางโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพในการดึงดูดครูที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพทางการศึกษา อบรมและศีลธรรมหลังจากผ่านการอบรมวิชาชีพครู
๓.๓ ยกระดับฐานะภาพทางสังคมให้กับครู และเพิ่มแรงจูงใจให้กับพวกเขาเพื่อสามารถรับใช้ในหน้าที่ได้เป็นอย่างดี ด้วยการเลือกปฏิบัติทางวัฒนธรรม การเผยแพร่ การบริการ การอำนวยความสะดวก การแก้ไขปัญหาทางวัตถุ และปัจจัยยังชีพของนักวัฒนธรรม
๓.๔ การพัฒนาทักษะวิชาชีพและความสามารถในด้านวิทยาศาสตร์และการฝึกอบรมครู ด้วยการยกระดับคุณภาพของการเรียนการสอน พร้อมกับการบริการ และการวางแผนนโยบายที่ทันสมัยด้านฐานข้อมูลเฉพาะด้าน และการศึกษาเพิ่มเติมสำหรับครูตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับระบบการศึกษา
๓.๕ – ติดตามระบบการประเมินผลและประเมินสมรรถนะทั่วไป เฉพาะด้าน และวิชาชีพครู ซึ่งตามดัชนีการศึกษา การวิจัย วัฒนธรรม การศึกษา เพื่อเป็นการส่งเสริม
๓.๖ – พัฒนาการให้ครูมีส่วนร่วมในกระบวนการของการพัฒนาหลักสูตรการวิจัยการศึกษาและวัฒนธรรม
๓.๗ – การจัดตั้งระบบการชำระเงินบนพื้นฐานของความเชี่ยวชาญ สมรรถนะและประสิทธิภาพในการแข่งขัน ตามดัชนีระบบการจัดอันดับครูมืออาชีพ
๔ - สร้างระบบการเปลี่ยนแปลงในโปรแกรมการเรียนการสอนโดยคำนึงถึงประเด็น ดังนี้
๔.๑ การปรับปรุงเนื้อหาของการศึกษาที่ทันสมัย และพัฒนาหลักสูตรระดับชาติบนพื้นฐานของปรัชญาของการศึกษาอิสลามและปรับเนื้อหาให้เหมาะสมกับความต้องการของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมุ่งมั่นพยายามที่จะเสริมสร้างเอกลักษณ์และวัฒนธรรมอิสลาม – อิหร่าน
๔.๒ – การพัฒนาวัฒนธรรมของการคิด การวิจัย ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายของวิธีการสอนและการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ และสร้างกระบวนการคิดที่เป็นตรรกะ แม่นย้ำและสอดคล้องเพื่อการวิเคราะห์และพิจารณาในประเด็นหัวข้อ
๔.๓ อธิบายความคิดทางการเมือง –ศาสนาของท่านอิมามโคมัยนี(รฎ) รากฐานของสาธารณรัฐอิสลาม ระบอบิลายะตุลฟากีห์และรากฐานหลักของรัฐธรรมนูญในระดับชั้นต่างๆของการศึกษา
๔.๔ - ส่งเสริมวัฒนธรรม มาอารีฟอิสลาม และการเรียนรู้อัลกุรอาน (ในทุกระดับชั้น) และเสริมสร้างให้นักเรียนมีความผูกพันกับอัลกุรอาน วิถีชีวิตของท่านศาสดา(ซล) และอะห์ลุลบัยตฺ(อ)อีกทั้งเผยแพร่วัฒนธรรมแห่งการนมาซ
๔.๕ – ปรับกระบวนการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในการประเมินผลนักเรียนเพื่อสามารถรู้จุดแข็งและจุดอ่อน และการฝึกฝนความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน
๔.๖ – คำนึงถึงวิถีแห่งวัฒนธรรมและการศึกษาในการวางแผนการเรียนการสอน
๔.๗ - เสริมสร้างจรรยาบรรณ และทักษะชีวิตและความสามารถในการแก้ปัญหา และปฏิบัติตามสิ่งที่เรียนรู้เพื่อปรับปรุงชีวิตส่วนตัวและสังคมของนักเรียน
๔.๘ - เสริมสร้างความเข้มแข็งของการศึกษาทางเทคนิคและอาชีวศึกษา
๕ – การให้ความสำคัญกับการฝึกอบรมและการศึกษาบนพื้นฐานของปรัชญาของการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็น
๕.๑ – การพัฒนาองค์ความรู้ และการรู้แจ้งในศาสนา เพื่อการเจริญเติบโตทางจิตวิญญาณและทางศีลธรรมเพื่อความเป็นเลิศสำหรับครูและนักเรียน และความพยายามที่จะยกระดับและส่งเสริมจิตวิญญาณครอบครัว
๕.๒ ส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตของครูและนักเรียน และป้องกันภัยคุกคามต่างๆทางสังคม
๕.๓ - ส่งเสริมการศึกษาทางปัญญา และการพัฒนาทางโลกทัศน์ของศาสนา การเมืองและสังคมของนักเรียน และพยายามที่จะเสริมสร้างความสามัคคีและความเป็นปึกแผ่นแห่งชาติ ความรักชาติและการเผชิญหน้ากับการุกรานทางวัฒนธรรมอย่างชาญฉลาด และปกป้องความเป็นอิสระทางปัญญา เสรีภาพ ประชาธิปไตยแบบศาสนาและผลประโยชน์ของชาติ
๕.๔ – ความเจริญรุ่งเรืองและการเปล่งบานแห่งความหวานชื่น และความสามารถทางวัฒนธรรม ศิลปะและเสริมสร้างพลังจิตวิญญาณแห่งความสดใส่ร่างเริงในนักเรียน
๕.๕ – การพัฒนาด้านพละศึกษาและการกีฬาในสถาบันศึกษา
๕.๖ – การฝึกอบรมและเตรียมกำลังคนที่มีความสามารถและมีคุณสมบัติ เพื่อบรรลุเป้าหมายตามโปรแกรมและแผนการเรียนการสอน
๖ – การเปลี่ยนแปลงในระบบการเงินการบริหารและการจัดการโดยเน้นในประเด็น
๖.๑ – การปรับรื้อโครงสร้างการบริหารในทุกระดับ ด้วยวิธีการอย่างรวดเร็ว สร้างศักยภาพ ปรับวัฒนธรรมและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคเอกชน ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและนโยบายการบริหารทั่วไปและการศึกษา โดยเฉพาะการสร้างความมีส่วนร่วมของครูและครอบครัว สถาบันการศึกษาศาสนา มหาลัย ศูนย์วิจัยและหน่วยงานสาธารณะอื่น ๆ และผู้บริหารหน่วยงานในขั้นตอนการศึกษา
๖.๒ ลำดับความสำคัญในเรื่องงบประมาณค่าใช้จ่ายการศึกษา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและพันธะกิจที่กำหนดไว้ในนโยบายทั่วไป.
๖.๓ - การปรับปรุงการใช้ทรัพยากรและปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพของระบบการศึกษา
๗ - ปรับทัศนีย์ภาพ โครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพและอุปกรณ์การเรียนการสอนในโรงเรียน เพื่อบรรลุตามแนวทางระบบการศึกษาอิสลาม โดยเน้นในประเด็น
๗.๑ - รับผิดชอบในกระบวนการจัดตั้งภูมิทัศน์ ปรับปรุง ทัศนียภาพ ติดตั้งเครื่องมือเพิ่มเติมและเฝ้ารักษาความปลอดภัยสถานศึกษา ด้วยการคำนึงถึงสถาปัตยกรรมอิสลามอิหร่าน จัดสถานที่และขยายเขตพื้นที่บริเวณ เพื่อให้เหมาะสมตามความต้องการ การออกแบบและการสร้างสถาบันการศึกษาและการฝึกอบรม และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชน และองค์การการบริหารจัดการเมือง ในการก่อสร้างและการบำรุงรักษาโรงเรียน
๗.๒ ก่อสร้างสถาบันการศึกษาฝึกอบรมแห่งใหม่ เพื่อให้สอดคล้องตามอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร และบังคับใช้ให้เมืองต่างๆมีการสร้างสถาบันการศึกษาฝึกอบรมเท่าที่จำเป็น
๗.๓ นำเสนอแม่แบบกฎระเบียบจากกระทรวงศึกษาธิการเพื่อสร้างสถาบันการศึกษา
๗.๔ จัดเตรียมสถาบันการศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และให้การฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องกับสาขาในการใช้งานที่มีประสิทธิภาพของเทคโนโลยีใหม่ในโรงเรียน
๘ เพิ่มบทบาทและอำนาจหน้าที่ของโรงเรียนเพื่อบรรลุเป้าหมายภารกิจที่กำหนดไว้ในมาตรา ที่หนึ่งของนโยบายทั่วไป และส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีและการศึกษาที่สร้างสรรค์กับครอบครัวสื่อและสังคม
๙ เสริมสร้างความเข้มแข็งทางการศึกษาชายแดนโดยเน้นการเพิ่มขีดความสามารถของครูและนักเรียนในพื้นที่เหล่านี้
๑๐ ตรวจสอบการจัดการฝ่ายบริหารด้านการศึกษาและการจัดการ ด้วยการเน้นย้ำในด้านคุณค่าและการปฏิวัติ และสภาพแวดล้อมทางการศึกษาต้องห่างไกลจากกลุ่มการเมือง
๑๑ การประสานงานและการเชื่อมโยงกันระหว่างวัตถุประสงค์ นโยบายโปรแกรมและเนื้อหาการฝึกอบรมในด้านการศึกษา และการศึกษาขั้นสูงและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
๑๒ ยกระดับระบบการศึกษาในแง่ของตัวชี้วัดเชิงปริมาณและคุณภาพในระดับภูมิภาคและระดับโลกเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของวิสัยทัศน์ยี่สิบปีของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน
๑๓ การจัดตั้งระบบที่ครอบคลุมการประกัน การติดตาม ตรวจสอบและการประเมินผลที่มีคุณภาพในระบบการศึกษา