คณะกรรมการสถาบันวางแผนพัฒนาแบบอย่างอิสลามแห่งชาติ -อิหร่านพัฒนา และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องได้เข้าพบท่านผู้นำสูงสุดเช้าวันนี้ (วันจันทร์) ตลอดจนนักวิชาการอิสระ, ผู้ทรงคุณวุฒิและคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยหลายแห่ง และได้มีการแลกเปลี่ยนทัศนะโดยการนำเสนอวิทยาศาสตร์ความรู้ เพื่อใช้เป็นกลยุทธ์ในการปรับแผนพัฒนาแบบอย่างอิสลามแห่งชาติ-อิหร่านพัฒนา
ท่านผู้นำสูงสุดได้ให้ความสำคัญ ต่อแผนพัฒนาแบบอย่างอิสลามแห่งชาติ-อิหร่านพัฒนา และถือว่าเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ที่มีความสำคัญในระยะยาว ท่านยังกล่าวว่า “ มีความจำเป็นในเชิงรูปธรรมที่จะต้องถ่ายทอดแผนงานพัฒนาแบบอย่างอิสลาม- อิหร่านพัฒนา ต่อบรรดาผู้ทรงคุณวุฒิ และสังคมภายในประเทศ”
ท่านผู้นำสูงสุดกล่าวว่า “ แผนงานพัฒนาแบบอย่างอิสลามแห่งชาติ-อิหร่านพัฒนา ในความเป็นจริง คือการนำเสนอผลผลิตจากการปฏิวัติอิสลาม การวางแผนสร้างอารยธรรม และความเจริญก้าวหน้าที่วางอยู่บนพื้นฐานและวางอยู่บนกรอบแนวคิดของอิสลาม ดังนั้น ต้องกำหนดทิศทางและแผนงานในระยะยาวพร้อมกับมีการเพิ่มพัฒนาการที่ลึกซึ้งควบคู่ไปด้วย”
ท่านยังได้กล่าวถึงสภาวะปัจจุบันในโลก ที่มีผลกระทบมาจากแบบอย่างของอารยธรรมตะวันตก, ความเจริญก้าวหน้าของตะวันตก, และอิทธิผลที่มาจากวัฒนธรรมตะวันตกต่อการดำเนินชีวิตของมวลมนุษยชาติว่า “ แผนการพัฒนาแบบอย่างอิสลามแห่งชาติ - อิหร่านพัฒนานั้น จำเป็นที่ต้องใช้ความกล้าหาญ, และต้องใช้ความคิดที่สร้างสรรค์อันทรงพลังยิ่ง”
ท่านผู้นำสูงสุดถือว่าสติปัญญาและแนวคิดคือหัวใจหลัก ของการขับเคลื่อนในครั้งนี้ และท่านยังชี้ให้เห็นถึงการแก้ไขปัญหา หรือการแก้ไขจุดอ่อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในการวางแผนระยะยาวว่า “ อย่ารีบเร่งในการขับเคลื่อน, และควรใช้ประสบการณ์ใหม่ๆจากเยาวชนคนหนุ่มสาว เพื่อที่จะให้เครื่องยนต์ติดง่าย และจงอย่าให้มันดับลงเด็ดขาด”
ท่านผู้นำสูงสุดยังกล่าวถึง การมีส่วนร่วมของเยาวชนที่มีความสามารถ และมีความคิดสร้างสรรค์ของประเทศในเวทีการพัฒนา นาโนเทคโนโลยี, พลังงานและอุตสาหกรรมการทหารว่า “เราควรมีความเชื่อมั่นในความสามารถของเยาวชน เพราะมันสมองของพวกเขาไม่มีวันสิ้นสุดลง”
ท่านผู้นำสูงสุดยังถือว่า หลักการของอิสลามนั้น ต้องเป็นกฎเกณฑ์หลักในการวางแผนพัฒนาแบบอย่างอิสลามแห่งชาติ ท่านได้กล่าวว่า “ ในทุกๆขั้นตอนของการวางแผนพัฒนาแบบอย่างอิสลามนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ควรยึดหลักการของอิสลามอย่างละเอียดถี่ถ้วนโดยไม่ควรเกรงใจผู้อื่น”
ท่านผู้นำสูงสุดถือว่า การใช้ประโยชน์จากสถาบันศึกษาอิสลามนานาชาตินั้น เป็นสิ่งที่จำเป็น และท่านยังกล่าวว่า “ควรยึดหลักสี่ประการในการวางกรอบแผนงาน แผนพัฒนาแบบอย่างอิสลามแห่งชาติ-อิหร่านพัฒนา คือ แนวคิด, ความรู้, จิตวิญญาณและวิถีชีวิต และแนวคิดคือสิ่งที่สำคัญในลำดับต้น”
ท่านผู้นำสูงสุดได้ชี้ให้เห็นถึง ปรากฏการณ์แห่งอารยธรรมตะวันตก, การนำเสนออย่างรูปธรรมในเรื่องนี้ บ่งบอกถึงความถดถอยและเสื่อมโทรมของสังคมในปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ชัดเจนในการพิจารณาถึงข้อผิดพลาดจากอารยธรรมนี้ ท่านผู้นำสูงสุดกล่าวว่า “ อารยธรรมตะวันตกยึดหลักทฤษฎีมนุษยนิยม โดยยึดหลักอำนาจและการเมืองนิยม และหลักทุนนิยมเพื่อส่งออกแนวคิดของตน, ปัจจุบันสัญลักษณ์เชิงประจักษ์ของทฤษฎีดังกล่าว คือการถดถอยทางด้านจริยธรรมและพฤติกรรมทางเพศ และการแผร่หลายโดยไร้ขอบเขตของเรื่องดังกล่าว”
ท่านผู้นำสูงสุดยังถือว่า อีกหนึ่งสาเหตุของความถดถอยและเสื่อมโทรมของอารยธรรมตะวันตก คือการทำสงครามหลายครั้งในยุโยป ในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมา โดยท่านกล่าวว่า “ปัญหาความเสื่อมโทรมและถดถอยของอารยธรรมตะวันตก มีสาเหตุมาจากการไร้จิตวิญญาณของพวกเขา”
ท่านผู้นำสูงสุดยังได้กล่าวถึง เงื่อนไขหลักที่สำคัญของการพัฒนาอารยธรรม คือการยึดมั่นต่อคุณค่าทางจิตวิญญาณของอิสลาม “ จิตวิญญาณแห่งศาสนาคือเหตุผลหลัก ที่จะทำให้เรารู้จักถึงความสามารถและการใช้ประโยชน์จากมัน จะนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าในทุกแง่มุม และจะเผชิญกับปัญหาน้อยที่สุด”
ท่านผู้นำสูงสุดได้กล่าวย้ำ ถึงการวางแผนในระยะยาวอย่างถี่ถ้วน และจำเป็นที่จะต้องมีจิตวิญญาณแห่งการต่อสู้และความบริสุทธิ์ใจ ท่านยังกล่าวว่า “ วาทกรรมคือเงื่อนไขหลักต่อการปรากฏของแบบอย่างอิสลาม- อิหร่านพัฒนา ในรูปธรรม” การค้นคว้าแบบอย่างดังกล่าว ต้องมาจากสติปัญญาของผู้ทรงคุณวุฒิแห่งชาติในลำดับต้น และเยาวชน ตลอดจนประชาชนในลำดับถัดมาต่อการสร้างวาทกรรม ท่านยังกล่าวว่า “ ต้องจัดระเบียบสังคมอย่างเข้มแข็งและมีคุณค่า ที่ต้องผ่านกระบวนการสังเคราะห์วาทกรรม จากผู้ทรงคุณวุฒิแห่งชาติ, เจ้าของทฤษฎี, โดยกระทำดังกล่าวนั้น ต้องตรวจสอบอย่างอดทนและรอบคอบ”
ดร.ซอดิก วาเอซ ซาเดห์ ประธานสถาบันแบบอย่างอิสลามแห่งชาติ - อิหร่านพัฒนา ได้กล่าวรายงานถึงความก้าวหน้าการทำงานของสถาบัน และได้จัดตั้งสำนักค้นคว้าสองแห่ง ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดของสถาบัน
ดร. วาเอซ ซาเดห์ยังได้กล่าวถึง การพัฒนาศูนย์วิจัยแห่งชาติคือสิ่งที่จำเป็นของสถาบัน, การสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันความคิดแห่งชาติ, การจัดเสวนาวิชาการและการอบรมเฉพาะทาง, การสร้างสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรกับสถาบันความรู้, ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาวาทกรรมแห่งชาติโดยประชาชนและการแผร่ขยายแบบฉบับอิสลาม-อิหร่านพัฒนา, การสร้างสถานที่รองรับต่อความคิดสร้างสรรค์ของเยาวชนแห่งชาติ, ร่างโครงสร้างสถาบันโดยยึดหลัก คุณค่านิยมและหลักการ, การประเมินผล, การวิเคราะห์ปัญหา, การวิจัยพัฒนาการของชาติในอนาคต ล้วนเป็นสื่งที่จำเป็นและเร่งด่วน.
คณะ 6 ท่านจากสถาบันดังกล่าว ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิแห่งชาติ, อาจารย์, และเจ้าของทฤษฎีคือ
-ฮุจญะตุลอิสลาม ดร.ซัยยิด ฮุเซน มีรมะอ์ซี จากสถาบันอิดาลัต
-ดร.ซอเลฮี จากสถาบันอิลม์
-ฮุจญะตุลอิสลาม ดร.อาลี ดุซต์ จากสถาบันฟิกฮ์และฮูกูกอิสลามี
-ดร.ซาเฮดี วะฟา จากสถาบันเศรษฐศาสตร์
-ดร.ซาลี จากกลุ่มเกษตรกร
-ดร.ซะบูตี อาจารย์มหาวิทยาลัย
-ดร.ฟาระฮ์มันพูร จากสถาบันศึกษาครอบครัว (สตรี)